วิเคราะห์สังขารุเปกขาญาณในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

Main Article Content

กาจน์กุนต์ เชียร์ศิริกุล
สุภีร์ ทุมทอง
มานพ นักการเรียน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสังขารุเปกขาญาณในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อวิเคราะห์สังขารุเปกขาญาณในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก และคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุง แก้ไข สรุปผลการวิจัยในลักษณะพรรณนาผลการวิจัย พบว่า 1) สังขารุเปกขาญาณในคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือ ญาณที่เป็นกลางต่อสังขาร เป็นปัญญาที่ปรารถนา จะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ในขันธ์ 5 ทั้งหมด 15 ชื่อ มีอุปปาทะ เป็นต้น โดยเห็นความทุกข์ เป็นภัย เป็นอามิส และเป็นสังขาร เมื่อพิจารณาเห็นว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจากทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน 2) สังขารุเปกขาญาณในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาด้วยอนุปัสสนา 3 คือ (1) อนิจจานุปัสสนา โดยเห็นความไม่เที่ยงด้วยอนิมิตนุปัสสนา เข้าสู่นิพพานเรียกว่าอนิมิตวิโมกข์ มีนิพพานชื่อว่าอนิมิตนิพพาน (2) ทุกขานุปัสสนาโดยเห็นความเป็นทุกข์ด้วยอัปปณิหิตนุปัสสนาเข้าสู่นิพพานเรียกว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ มีนิพพานชื่อว่าอัปปณิหิตนิพพาน (3) อนัตตานุปัสสนาโดยเห็นความเป็นไม่ใช่ตัวตนด้วยสุญญตานุปัสสนาเข้าสู่นิพพานเรียกว่าสุญญตาวิโมกข์มีชื่อนิพพานว่า
สุญญตานิพาน

Article Details

How to Cite
เชียร์ศิริกุล ก., ทุมทอง ส., & นักการเรียน ม. . (2025). วิเคราะห์สังขารุเปกขาญาณในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา . วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 31–38. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272512
บท
บทความวิจัย

References

นฤมล อภินิเวศ. (2558). ปัญญารู้แจ้งสภาวธรรมปัจจุบันขณะในการเจริญวิปัสสนาภาวนา. วารสารบัณฑิตศาส์น, 13(2), 65-75.

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบําบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระพุทธโฆสเถระ. (2554). วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ อาสถมหาเถร แปลและเรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ), 2550). วิปัสสนานัย เล่ม 2. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. นครปฐม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีเอไอ เซ็นเตอร์.

พระอรรถชาติ เดชดํารง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.