การพัฒนาความสมดุลแห่งจิตโดยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เพื่อวิปัสสนาญาณ

Main Article Content

พระมหากิตติพิชญ์ นโมพันเรียน
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาจิตกับธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อพัฒนาความสมดุลแห่งจิตโดยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เพื่อวิปัสสนาญาณ รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเน้นเอกสารผ่านการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท แล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาโวหาร ผลจากการวิจัย พบว่า


  1. จิตกับธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ องค์ธรรมที่สำคัญและมีความสัมพันธ์กันมาก เพราะจิตมีหน้าต้องรับรู้อารมณ์ตอลดเวลา ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ การเจริญสติระลึกรู้อยู่ในทุกอารมณ์ปัจจุบันขณะเพื่อให้เกิดปัญญาพิจารณาเห็นเท่าทันความเป็นไปในอารมณ์นั้นๆ จักเป็นประโยชน์ให้จิตมีความฉลาดสามารถควบคุมอารมณ์ให้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสงบสุขสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิผล

          2.  การพัฒนาความสมดุลแห่งจิตเพื่อวิปัสสนาญาณ คือ การเจริญสติจนเกิดปัญญาหยั่งเห็นความเกิดดับอย่างเร็วมากของนามรูปอันเป็นตัวอารมณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ จนตระหนักถึงความน่ากลัว มีโทษมาก เกิดความเบื่อหน่าย มีสติรู้ในปัจจุบันอยู่ ต้องการจะหลีกออกจากสังขารแล้วแสวงหาทางที่จะหนีให้พ้นไป จนเกิดปัญญาเห็นความเป็นธรรมดาของสังขารแล้วจิตวางเฉยเป็นกลางด้วยกำลังปัญญานั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระพุทธโฆสาจารย์. (2554). วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ อาสถมหาเถร แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2564). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 56). กรุงเทพฯ:สหธรรมิก.

อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย. (2539). วิปัสสนากรรมฐาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ.