วิเคราะห์การสิ้นกรรมด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

Main Article Content

พระสิโรตนม์ หัสดีกันตพงศ์
มานพ นักการเรียน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักคำสอนเรื่องกรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์การสิ้นกรรมด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา งานวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง บรรยายเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า วิปัสสนา คือ ปัญญาหยั่งรู้หยั่งเห็นเห็นแจ้ง รูปนามตามความเป็นจริง เป็นเพียงสภาวธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ตัวตนเราเขาไม่อยู่ในบังคับบัญชา เป็นการฝึกฝนอบรมปัญญาเพื่อถอนความหลงผิดรู้ผิดและยึดติดในสิ่งทั้งหลายได้ พ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลสที่สุดคือนำไปสู่ความหลุดพ้นที่แท้จริงยั่งยืนถาวร


      หลักคำสอนเรื่องกรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนามีความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตของมนุษย์ และคติความเชื่อว่าการกระทำที่ส่งผลดีและผลร้าย ล้วนแต่เป็นการกระทำ ซึ่งเรียกว่า กรรม ที่จำแนกสัตว์ให้ทรามและประณีต เป็นกุศล และอกุศล เป็นบุญ เป็นบาป ตกอยู่ใน อำนาจ กิเลส กรรม และวิบาก เป็น วัฏจักร การหมุนเวียนไปอย่างนี้


      วิเคราะห์การสิ้นกรรมด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เป็นการเจริญภาวนาโดยมีสติเป็นประธาน คือ การทำความเห็นแจ้งให้เกิดมี  คือให้เจริญยิ่งขึ้น ทำให้บุคคลเกิดปัญญาหยั่งเห็นรูป-นาม สติปัฏฐาน 4 เพื่อบรรลุอริยมรรคทั้ง 4 มีโสดาปัตติมรรคผู้ถึงกระแสพระนิพพาน จนบรรลุความเป็นพระอรหันต์สิ้นสังโยชน์แล้วใน กามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ภวราคะ อิสสา มัจฉริยะ และอวิชชา เป็นการสิ้นกรรมด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

Article Details

How to Cite
หัสดีกันตพงศ์ พ., & นักการเรียน ม. . (2025). วิเคราะห์การสิ้นกรรมด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 21–30. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272483
บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบําบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), (2553) พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ คำวัด. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ:ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระพรหมโมลี วิลาศ ญาณวโร, 2544), โลกทีปนี. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

พระพุทธโฆสเถระ. (2554). วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ อาสถมหาเถร แปลและเรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสียาดอ). (2548). วิปัสสนานัยเล่ม 1-2. นครปฐม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีเอโอเซ็นเตอร์.

พระอรรถชาติ เดชดํารง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.