วิเคราะห์การทำจีวรของวัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

พระสุนทร วงศ์งามชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาจีวรของพระสงฆ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาวิเคราะห์การทำจีวรของวัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน


ผลการวิจัย พบว่า การรีไซเคิล หมายถึง การนำของเสียหรือวัสดุที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการแปรรูปหรือปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้ของเสียกลับมามีคุณภาพเทียบเท่าหรือใกล้เคียงของเดิม หรือให้ได้วัตถุดิบใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการรีไซเคิลสารเคมีที่ใช้แล้วจากภาคอุตสาหกรรม ความสำคัญของการจำแนกประเภทของเสียที่สามารถรีไซเคิลได้ ของเสียที่ต้องนำไปเผาทำลาย และของเสียที่ควรนำไปฝังกลบ จะทำให้ของเสียแต่ละประเภทถูกนำไปบำบัดอย่างเหมาะสม ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาระบบการจัดการของเสียที่ดียิ่งขึ้น


จีวร หมายถึง เครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุและสามเณรในพระพุทธศาสนาประกอบด้วย สังฆาฏิ อุตตราสงค์ และอันตรวาสก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไตรจีวร ผ้าสำหรับห่มของพระภิกษุและสามเณร จำนวน 3 ผืน ดังนั้น จีวรเป็นปัจจัยเครื่องนุ่งห่มหรืออัฏฐะบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวนปัจจัย 4 อย่าง และจีวร คือ หมายถึงผ้าที่ใช้ในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตผ้า 6 ชนิด และใช้ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ กระบวนการรีไซเคิลขวดพลาสติกทอเป็นผืนผ้าในชุมชนวัดจากแดง ขวดพลาสติกจะถูกคัดแยก ทำความสะอาด แล้วนำอัดเป็นก้อน ส่งเข้าโรงงานแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติก พิมพ์ออกมาเป็นเส้นใยพลาสติก เส้นด้าย ย้อมสี แล้วนำมาทอเป็นผืนผ้า ส่วนการนำเส้นใยมาเป็นผ้าเพื่อตัดเย็บเป็นจีวรนั้น ทางวัดได้แปรรูปเป็นเม็ดพลาสติกเป็นเส้นใยโพลิเมอร์แล้วได้ผสมสิ่งต่าง ๆ เช่น เปลือกไม้ ฝ้าย ไยไหม ขนสัตว์ เปลือกป่าน ที่เรียกว่า ภังคะ คือผ้าฝ้ายแกมกันด้วยผ้าทั้ง 5 อย่างที่กล่าวมา


ประโยชน์ที่ได้จากการรีไซเคิล 1) ช่วยลดภาระในการกำจัดกากของเสียจากกระบวนการทางอุตสาหกรรม 2) ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีใหม่ 3) ช่วยรัฐประหยัดเงินตราในการนำเข้าเคมีภัณฑ์จากต่างประเทศ 4) ช่วยลดปัญหาในการจัดหาพื้นที่ฝังกลบ และลดปริมาณมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้กากของเสีย 5) ช่วยให้การใช้ทรัพยากรโลกเป็นไปอย่างคุ้มค่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คีตา องอาจ, พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร, พระเจริญพงษ์ วิชัย และ พระมหาพุทธิวงศ์ สุวรรณรัตน์. (2566). จากแดงโมเดล : รูปแบบการพัฒนาเมืองขยะเป็นศูนย์ แนวพุทธบูรณาการของวัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมณีเชษฐาราม, 5(6), 391-405.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2539). พุทธศาสนากับสังคมและการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่.

ณรงค์ฤทธิ์ ประสานตรี, จันทนา อุดม และ ไพโรจน์ บุตรชีวัน. (2567). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 25 – 42.

พระทศพล ถาปินตา. (2563). ศึกษาวิเคราะห์การถวายผ้าทอในพิธีกรรมและประเพณีทางพระพุทธศาสนาของชาวไทยวนบ้านป่าบง ต.แม่คือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 11(2), 445 – 461.

พระวิจิตร เกิดไผ่ล้อม. (2551). วิเคราะห์การใช้บริขารของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุชาติ ทองมี. (2551). การบิณฑบาตในพระพุทธศาสนา(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุริยนต์ น้อยสงวน. (2554). การศึกษาวิเคราะห์บิณฑบาตในฐานะเป็นเครื่องมือหนุนชีวิตและกุศโลบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ.ปยุตฺโต). (2542). สอนนาค - สอนฑิต ชีวิตพระ ชีวิตชาวพุทธ. กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Sangvatanachai, D., Pechpakdee, P., Jitto, P., & Boonlua, S. (2024). The Recyclable Waste Management of Urban Communities of Maha Sarakham Municipality and Related Areas. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 7(1), 226–244.