แนวทางพัฒนาการบริหารงบประมาณของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงบประมาณของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารงบประมาณของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรฝ่ายการเงินและพัสดุของโรงเรียน จำนวน 105 คน และกลุ่มเป้าหมายในการหาแนวทางพัฒนาการบริหารงบประมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที (t-test) และแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์เชิงเนื้อหา แล้วสรุปบรรยายเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงบประมาณของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการบริหารการเงิน 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงบประมาณของโรงเรียนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน โดยค่าเฉลี่ยการบริหารงบประมาณของผู้บริหารสถานศึกษาสูงกว่าบุคลากรฝ่ายการเงินและพัสดุ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารงบประมาณของโรงเรียนควรปฏิบัติทุกขั้นตอนตามระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทั้งภายในและภายนอก เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันต่อเหตุการณ์มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนเพื่อจัดทำแผนให้เป็นรูปประธรรม ครอบคลุม เที่ยงตรง ยึดถือคุณธรรมความถูกต้องเปิดเผยโปร่งใส ตรวจสอบได้ เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาตระหนักถึงประโยชน์สูงสุดของการบริหารงบประมาณให้มีความคุ้มค่า ประหยัด เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2556). คู่มือหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
เกตุจันทร์ฑา ศรีวะรมย์. (2560). กลยุทธ์การบริหารงบประมาณที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2), 20-33.
ขนิษฐา ศิริมา. (2564). การบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี, 9(1), 677-687.
จันทร์จิรา โชติพิบูลย์ และ สุรางคนา มัณยานนท์. (2565). การบริหารงานด้านงบประมาณโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(1), 17-30.
บัณฑิตาภรณ์ ศรีคําภา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(3), 334-341.
พัชรินทร์ ยืนนาน และ ธรินธร นามวรรณ. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 8(2), 98-111.
ศิริโชค เจริญราช. (2564). การศึกษาปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 4(2), 10-22.
สาริศา เจนเขว้า และ วาณี ซ้อนกลิ่น. (2566). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเพื่อพัฒนาระบบงบประมาณ ของสถานศึกษาในเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบบูรณาการศีขรภูมิ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 14(2), 284-297.