การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พัชรฎา มณฑาทิพย์
กมลพร กัลยาณมิตร
สถิตย์ นิยมญาติ
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสถานการณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 3) เสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารภาครัฐในระดับการกำหนดนโยบาย ตำรวจ บุคลากรภาครัฐในระดับปฏิบัติการ ประธานชุมชนในเขตหนองจอก และประชาชนในเขตหนองจอก รวม 25 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปผลการวิจัยโดยนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า


1) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า มีระบบการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้มีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดของยาเสพติด


2) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า บุคลากรขาดความรู้และทักษะที่เหมาะสมขาดการบูรณาการในการดำเนินงานร่วมกัน การบังคับใช้กฎหมายยังไม่เคร่งครัด ขาดความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจทำมีการใช้ยาเสพติดมากขึ้น  ผู้ติดยาเสพติดบางส่วนปฏิเสธการบำบัด ฟื้นฟู  และบางส่วนกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำ 


3) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า ควรส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม การบูรณาการการทำงานต้องมีความชัดเจน เน้นแนวทางการป้องกันและแก้ไขมากกว่าการปราบปราม ใช้พลังชุมชนเป็นกลไกสำคัญ พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร ทำการรณรงค์สร้างความรู้  สร้างจิตสำนึก และความตระหนักถึงปัญหาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมในเชิงสร้างสรรค์สร้างพลังบวกให้ประชาชนและเยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษมา วรรณโร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน บ้านคลองทราย อำเภอแม่สาน จังหวัดปัตตานี(สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จรูญ จิตติวุฒิการ. (2564). กลไกทางสมองของการติดยาและสารเสพติด. ตำราการบำบัดรักษาผู้ติด ยาเสพติด. กรุงเทพฯ: วัชะอินทร์ ปริ้นติ้ง.

ช่อง 7 HD. (2565). ตีตรงจุด : ตรวจแนวรบสู้ยาเสพติดใน กทม.. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2566, จาก https://news.ch7.com/detail/568831

ปรีชญาณ์ นักฟ้อน และคณะ. (2564). นวัตกรรมเชิงนโยบาย: การลดอันตรายจากยาเสพติด. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์.

แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง. (2557). โครงการยาเสพติดกับวิถีชีวิตมุสลิมในจังหวัดใต้ตอนล่าง. สืบค้น 16 สิงหาคม 2566, จาก htt://elibry.trf.or.th/ctrflibrary.asp.

สมพร จันทา. (2554). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี(สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุวพักตร์ พนมวัน ณ อยุธยา. (2559). แก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยพลังชุมชน. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566, จาก https://nctc.oncb.go.th/ewt_news.php?nid=428&filename=index

สำนักงานเขตหนองจอก. (2566). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2566 สำนักงานเขตหนองจอก. กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตหนองจอก.

สำนักงานศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดกรุงเทพมหานคร. (2561). แผนยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2561–2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดกรุงเทพมหานคร.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2566). พื้นที่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก ข้อมูลเดือน กรกฎาคม 2566. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2566). แผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

เอกรัฐ ชูหวาน. (2553). บทบาทของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี(สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อับดุลคอลิก อัรรอฮีมีย์ และคณะ. (2564). รูปแบบการป้องกันตนเองในการใช้สารเสพติดซ้ำของผู้ติดสารเสพติดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี กรณีศึกษา ผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดในศูนย์บำบัดบ้านแสนสุข และสถาบันปอเนาะพัฒนาเยาวชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.)