แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักสุขภาวะผู้สูงอายุ เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาแนวส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุ โดยคัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน แลวนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า หลักสุขภาวะผู้สูงอายุได้เริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง และที่สำคัญคือ มิได้จำกัดเฉพาะของผู้สูงอายุแต่ยังครอบคลุมถึงทุกชีวิตในสังคม ที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขตามอัตตภาพ ไม่ก่อให้เกิดทุกข์หรือปัญหาในภายหลัง และพัฒนาสูงขึ้นไปจนเป็นความสุขที่ปราศจากทุกข์ทั้งหลายโดยสิ้นเชิงและหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของผู้สูงอายุ ตั้งแต่ขั้นต้นในการลงมือปฏิบัติคือ ความสำรวมอินทรีย์ทั้งหลายมีสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เพื่อจะได้ใช้เป็นพื้นฐานของศีล คือ เจตนางดเว้นจากความชั่วทางกาย และเจตนางดเว้นจากความชั่วทางวาจา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล, 38(1), 6-28.
ประเวศ วะสี. (2545). พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ: ธรรมนูญสุขภาพของคนไทย เครื่องมือนวัตกรรมทางสังคม. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ.
พระปลัดสมชาย ดำเนิน และ พระมหานันทวิทย์ ธีรภทฺโท. (2562). การพัฒนาตัวชี้วัดพฤฒพลังวิถีพุทธของผู้สูงอายุกลุ่มผู้เกษียณราชการ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 209-228.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 39). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แววดาว พิมพ์พันธ์ดี. (2562). การเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกตามหลักพุทธธรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(3), 737-752.