คุณค่าการสวดอุปปาตะสันติคาถาเพื่อพัฒนาสมาธิของผู้ปฏิบัติธรรม วัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระชานุวัฒน์ ฉวีลักษณ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการสวดมนต์บทอุปปาตะสันติคาถาเพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติธรรม 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสวดอุปปาตะสันติคาถาเพื่อพัฒนาสมาธิของผู้ปฏิบัติธรรมวัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้มาปฏิบัติธรรมเป็นประจำ 15 คน


ผลการศึกษา พบว่า การสวดมนต์ จัดเป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณไว้อย่างครบถ้วน มีอานุภาพและอานิสงส์ ทำให้เกิดสมาธิตั้งมั่น มีสติปัญญาพิจารณาสิ่งต่าง ๆ และยังเป็นการคุ้มครองให้เกิดความสันติสุข การสวดอุปปาตะสันติคาถา (มหาสันติงหลวง) มีจำนวน 271 คาถา เป็นบทสวดอย่างพิสดาร จึงเป็นการพัฒนาผู้ปฏิบัติธรรมอีกรูปแบบหนึ่ง การสวดมนต์จัดเป็น 2 ประการ คือ 1) สวดพระธรรมเพื่อรักษาพระพุทธศาสนา 2) สวดพระธรรมเพื่อจะคุ้มครองป้องกันภัยอันตราย คุณค่าของการสวดอุปปาตะสันติคาถา เป็นการพัฒนาสมาธิของผู้ปฏิบัติธรรม การสวดมนต์จึงถือว่าได้รับประโยชน์ทั้งตนเองและส่วนรวม คือ 1) เป็นการสร้างศรัทธา 2) เป็นการสร้างปัญญา 3) เป็นการขับไล่ความขี้เกียจ และตัดความเห็นแก่ตัว 4) จิตสงบเป็นสมาธิ ขณะที่สวดมนต์ 5) ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวคือ มีกาย วาจา เป็นปกติ (ศีล) มีใจที่แน่วแน่สงบนิ่ง (สมาธิ) มีความระลึกถึงพระรัตนตรัย (ปัญญา) เท่ากับว่าเป็นการได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการปฏิบัติบูชา การสวดอุปปาตะสันติคาถา จึงจัดเข้าซึ่งไตรสิกขา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กีรติ กมลประเทืองกร. (2551). ค่าของการสวดมนต์ที่มีต่อพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย: กรณีศึกษาพระพุทธศาสนิกชน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ กรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร. (2562). คู่มือทำวัตรเช้า-เย็น และสวดมนต์อุปปาตะสันติคาถา สำหรับอุบาสก-อุบาสิกา. นนทบุรี: อักขระการพิมพ์.

ชวน เพชรแก้ว. (2550). การศึกษาวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.

ณัฏฐรัตน์ ผาทา. (2550). การศึกษาวิเคราะห์บทสวดมนต์พุทธอัฏฐชยมงคลคาถา (คาถาพาหุง) (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2556) อานุภาพพระปริตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี). (2553). 9 มนต์เพื่อความก้าวหน้า. กรุงเทพฯ: สถาบันวิมุตตยาลัย.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2548). การศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฎในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องอานิสงส์และคัมภีร์ทศน์ในเทศกาลต่างๆ ของล้านนา(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์. (2563) การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์อุปปาตะสันติ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 9(1), 26-27.