แนวทางการบริหารจัดการงานสาธารณูปการตามโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ของคณะสงฆ์เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการบริหารจัดการงานสาธารณูปการตามโครงการวัดประชา รัฐ สร้างสุข ของคณะสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการงานสาธารณูปการตามโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ของคณะสงฆ์ในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการงานสาธารณูปการตามโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ของคณะสงฆ์ในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พระสังฆาธิการ และประชาชนในเขตตลิ่งชัน จำนวน 15 รูป/คน
ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการงานสาธารณูปการตามโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เป็นหนึ่งในงานปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา โดยมุ่งพัฒนาสถานที่ให้รื่นรมย์ เป็นศูนย์การเรียนรู้ และการพัฒนาจิตใจของประชาชน มีแผนการดำเนินงานเป็นระบบและระยะอย่างชัดเจน โดยนำหลักการดำเนินงาน 3-5-7-9 ได้แก่ 3 พันธกิจ 5 ส (สู่สัปปายะ 7) 7 แนวทางการดำเนินงาน และ 9 แนวปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่ กระบวนการบริหารมี 8 อย่างประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การจัดหน่วยงาน 3) การจัดตัวบุคคล 4) การอำนวยการ 5) การควบคุมปฏิบัติงาน 6) การประสานงาน 7) การรายงาน 8) การงบประมาณ โดยมีรูปแบบแผนการพัฒนาสาธารณูปการของวัดตามแผนยุทธศาสตร์ แนวทางการบริหารจัดการในเขตตลิ่งชัน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย 5 ส โดย ประชาชน ภาครัฐ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัด ส่งเสริมวัดให้เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นอย่างครอบคลุมทุกวัดในเขตตลิ่งชัน เป็นกลไกการสร้างสายสัมพันธ์ อันมีอุดมการณ์ร่วมกัน ที่จะทำให้เกิดศรัทธาปสาทะในบวรพระพุทธศาสนา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). วัดจะมีส่วนรับภาระและจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา. (2545). คู่มือการพัฒนาวัด อุทยานการศึกษาในวัดลานวัด ลานใจ ลานกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
พระปลัดบรรจง บุญเพ็ง, พระมหาสราวุธ แสงสี, พระครูอาทรวชิรกิจ (มานะ ชูศิลป์) และ พระครูสิทธิวชิรโสภิต (ประสิทธิ์ สมฺมาปญฺโญ). (2566). โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข สู่การพัฒนาวัดอย่างยั่งยืน. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(2), 44-57.
พระมหาณัฏฐ์ สติเวปุลฺโล และ ขันทอง วัฒนประดิษฐ์. (2565). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยสันติวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ไทยเดิ้งในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(7), 3130-3142.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.