การปฏิบัติหน้าที่ของบุตรตามหลักพุทธธรรมของนักเรียนโรงเรียนเพชรถนอม (คลองเสือน้อย) กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระปลัดนพดล คล้ายหงษ์
มานพ นักการเรียน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของบุตรตามหลักพุทธธรรมของนักเรียนโรงเรียนเพชรถนอม (คลองเสือน้อย) กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ของบุตรตามหลักพุทธธรรม จำแนกตามตัวแปรอิสระ และ3) เพื่อเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของบุตรตามหลักพุทธธรรม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการปฏิบัติต่อทิศเบื้องหน้าในสิงคาลกสูตร เป็นกรอบวิจัย พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนเพชรถนอม (คลองเสือน้อย) กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 - 6 จำนวน 242 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแจกแจงแบบทีชนิดที่เป็นอิสระจากกัน และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ถ้าปรากฏนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติหน้าที่ของบุตรตามหลักพุทธธรรม พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การชักชวนทำบุญรักษาศีล รองลงมาได้แก่ การแบ่งเบาภาระของมารดาบิดา การดำรงรักษาวงศ์สกุล การปฏิบัติตนเป็นคนดี และการตอบแทนคุณมารดา 2) การเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ของบุตรตามหลักพุทธธรรม พบว่า เพศหญิงและเพศชายมีการปฏิบัติหน้าที่ของบุตรตามหลักพุทธธรรม โดยรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามอาชีพ พบว่า ในด้านการตอบแทนคุณมารดาบิดา ด้านการแบ่งเบาภาระของมารดาบิดา และด้านการปฏิบัติตนเป็นคนดี อาจมีปัญหาอุปสรรคด้านเวลา ความใกล้ชิดสนิทสนมกันอาจมีน้อยจึงทำให้การปฏิบัติของบุตรกับมารดาบิดา มีไม่มากพอ 3) ความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนโดยตรง พบว่า มารดาบิดามีความสำคัญในการปลูกฝังตั้งแต่ต้น เช่น การตักบาตรทุกเช้า ชวนไปทำบุญที่วัด เวียนเทียน มารดาบิดาต้องเป็นแบบอย่างของบุตร โรงเรียนจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีส่วนร่วมในวันสำคัญ เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้ซึมซับกับวิถีชีวิตในสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2544). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญมี แท่นแก้ว. (2534). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

พระขวัญมนัส แก้วกูล. (2562). บทบาทของบุตรธิดาที่ดีตามคติพระพุทธศาสนา ในชุมชนบ้านดงไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสาร มมร ล้านนาวิชาการ, 8(1), 82-91.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระสุริยา ไชยประเสริฐ และ ภาสกร เรืองรอง. (2566). การพัฒนารูปแบบสื่อจักรวาลนฤมิต ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาด้วยการใช้เทคนิคการเล่าเรื่องผ่านสื่อสังคม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 1067-1077.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศรีธรรม ธนะภูมิ. (2535). พัฒนาการทางอารมณ์และบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุพัตรา สุภาพ. (2536). สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

อุดมชัย ปานาพุต, ชาตรี สุขสบาย, สงคราม จันทร์ทาคีรี, วีรพงศ์ พิชัยเสนาณรงค์ และ พระมหาณรงค์ราช ครองเชื้อ. (2566). ความเป็นบัณฑิตตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 759-768.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2536). วิถีชีวิตสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.