วิเคราะห์ศรัทธาของประชาชนต่อหลวงพ่อโสธรของวัดไผ่ตัน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระใบฎีกาสุนทร บัวพัตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศรัทธาของประชาชนต่อหลวงพ่อโสธรของวัดไผ่ตัน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวม 20 รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า ศรัทธาในพระพุทธศาสนา มี 4 ประการ 1) กัมมสัทธา เชื่อกฎแห่งกรรม 2) วิปากสัทธา เชื่อผลแห่งกรรม 3) กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน และ 4) ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาการตรัสรู้เองโดยชอบของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ตั้งมั่นในพระพุทธเจ้าอย่างไม่หวั่นไหว ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโสธร ในอดีตนั้นได้ลอยน้ำมาในแม่น้ำบางปะกงมาผุดขึ้นที่บริเวณท่าน้ำวัดโสธร กล่าวกันว่า ประชาชนจำนวนมากทำการฉุดลากขึ้นไม่สำเร็จ แต่ได้มีอาจารย์ผู้หนึ่งมีความรู้ทางไสยศาสตร์ทำพิธีตั้งศาลเพียงตา บวงสรวง แล้วเอาด้ายสายสิญจน์คล้องกับพระหัตถ์หลวงพ่อโสธรอัญเชิญขึ้นมาบนฝั่ง นำไปประดิษฐานในวิหารสำเร็จตามความประสงค์ ต่อมาวัดไผ่ตัน ได้ศรัทธาสร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโสธร (องค์จำลอง) ขึ้นในปี พ.ศ. 2497 เพื่อให้ประชาชนได้มากราบไหว้ สักการะบูชาจนปัจจุบันนี้ ประชาชนที่มาสักการะขอพรหลวงพ่อโสธรมีความศรัทธาเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เมื่อขอพรได้สมปรารถนาก็เกิดศรัทธาเพิ่มขึ้น บุคคลที่มาขอพรสำเร็จนั้นมิใช่เพราะพรจากหลวงพ่อโสธรเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะการลงมือทำด้วยตนเอง จึงเป็นปัจจัยอำนวยพรนั้นให้สำเร็จได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระชัยพร จันทวงษ์. (2554). ศึกษาศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ตามแนวสติปัฏฐาน 4. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุพาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาภูมิพัฒน์ คำมี. (2564). การเสริมสร้างพลังศรัทธาสู่ปัญญา: กรณีศึกษาหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มหาจุฬาวิชาการ, 8(2), 68-83.

พระมหายุทธกร สัจจรัตนพงศ์. (2547). ศึกษาวิเคราะห์ศรัทธาในพระพุทธศาสนา(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต).

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2554). ศรัทธากับปัญญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมดา.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.

Phra Naw Leang Tejanyana. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบหลักศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาเชน (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุพาลงกรณราชวิทยาลัย.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.