แนวทางการแก้ปัญหาการลดลงของพุทธศาสนิกชนผู้รักษาอุโบสถศีลของวัดในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรักษาอุโบสถศีลในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาปัญหาการลดลงของพุทธศาสนิกชนผู้รักษาอุโบสถศีลของวัดในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาการลดลงของพุทธศาสนิกชนผู้รักษาอุโบสถศีลของวัดในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวม 15 รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า อุโบสถศีล แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) ปกติอุโบสถ 2) ปฏิชาครอุโบสถ 3) ปาฏิหาริยอุโบสถ อุโบสถศีล หมายถึง ข้อวัตรหรือระเบียบที่ต้องรักษาในวันที่เข้าอยู่จำ คือ ศีล 8 ข้อ อันประกอบไปด้วยวัน 1 กับคืน 1 ที่ต้องสมาทานในวันอุโบสถ คือ ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และ 14 ค่ำ ที่คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ต้องปฏิบัติรักษาให้ดียิ่งขึ้น ปัญหาการลดลงของพุทธศาสนิกชนผู้รักษาอุโบสถศีลของวัดในเขตทวีวัฒนา เกิดจากผู้รักษาอุโบสถศีลมีอายุมากขึ้น สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง จึงไม่เอื้ออำนวยในการปฏิบัติ สภาพทางเศรษฐกิจฝืดเคือง มีภาระเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งบุคลากร พระวิทยากร พระวิปัสสนาจารย์ไม่มีความชำนาญ แนวทางการแก้ปัญหาการลดลง โดยการปลูกฝังความศรัทธา หาคนรุ่นใหม่มาทดแทนคนรุ่นเก่า และมีการฝึกอบรมพระวิทยากร พระวิปัสสนาจารย์ให้มีความชำนาญเพิ่มมากขึ้น มีสถานที่ร่มรื่นเงียบสงบ สะอาด ปลอดภัย สะดวกในการเดินทาง ดังนั้นอุโบสถศีล จึงเป็นการยกระดับของจิตใจ เพื่อเพิ่มความบริสุทธิ์ต่อการประพฤติพรหมจรรย์ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำสมาธิขั้นสูงให้ได้ผลดียิ่งขึ้นอันเป็นเส้นทางสู่มรรคผล นิพพาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิราภรณ์ ผันสว่าง, พระครูกิตติวราทร, อมรรัตน์ ผันสว่าง, เอกราช โฆษิตพิมานเวช และ ระพีพัฒน์ หาญโสภา. (2567). รูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันและแก้ไขการทะเลาะวิวาทอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้หลักอริยสัจสี่ของเยาวชนกลุ่มเปราะบาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 401-420.
พระครูปลัดอนุวัฒน์ ซื่อสัตย์. (2567).การประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อจัดการความโกรธของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 247-256.
พระยุธาน นาคขำ. (2567). การประยุกต์ใช้ขันติธรรมในการดำเนินชีวิตของประชาชนวัดค้างคาว จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 247-256.
พวงเพชร ทองหมื่นไวย. (2559). ศีลในฐานะเป็นพื้นฐานของมนุษย์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 16(2), 191–202.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.
สุนทร สายคำ, นาคพล เกินชัย และ พระอธิการบุญช่วย โชติวํโส. (2561). วิธีวิทยาการประเมินผลการดำเนินการตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(1), 35-46.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.