วิเคราะห์ศรัทธาของประชาชนที่มีต่อท้าวเวสสุวัณของวัดเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศรัทธาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาศรัทธาท้าวเวสสุวัณในสังคมไทย 3) เพื่อวิเคราะห์ศรัทธาของประชาชนที่มีต่อท้าวเวสสุวัณของวัดเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำคัญ จำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า ศรัทธาทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความเชื่อ มี 4 ประการ 1) กัมมสัทธา 2)
วิปากสัทธา 3) กัมมัสสกตาสัทธา และ 4) ตถาคตโพธิสัทธา ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา มีความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาหรือเหตุผลเรียกว่า ศรัทธาญาณสัมปยุต คือ ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา เมื่อเห็นว่ามีเหตุผลสมควรจึงเชื่อ เรียกอีกอย่างว่า อาการวตีศรัทธา เทพที่ปรากฏในพระพุทธศาสนานั้นได้เกิดมาจากผลแห่งกุศลกรรม มีการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา เช่น หลักธรรมของการเป็นท้าวสักกะ ได้แก่ วัตรบท 7 และบุญกิริยาวัตถุ 10 เป็นต้น เทพ มีอยู่ 3 จำพวก คือ 1) สมมติเทพ 2) อุปปัตติเทพ 3) วิสุทธิเทพ ท้าวเวสสุวัณ จัดเป็นมหาเทพ ผู้มีบทบาทในการช่วยคุ้มครองพระพุทธศาสนา ส่วนเทพแต่ละองค์นั้นได้สะท้อนภาพการเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ความเชื่อของประชาชนที่มีต่อท้าวเวสสุวัณของวัดเขตจอมทอง ท้าวเวสสุวัณมีความสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน โดยเมื่อมีศรัทธาต่อท้าวเวสสุวัณ ได้ศึกษาประวัติและแนวทางการทำความดีของท่าน แล้วนำมาปฏิบัติตาม ก็จะได้ผลดีแก่ตนเองและสังคม ดังนั้น ศรัทธาในพระพุทธศาสนาต้องมีปัญญากำกับด้วยเสมอ จึงจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ ได้ และยังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจในการดำเนินชีวิตในสังคมไทยปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชนาภัทร์ วงศ์โรจนภรณ์. (2554). การศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลของคำสอนเรื่องพรหมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไชย ณ พล. (2555). การบริหารด้วยระบบศรัทธา. กรุงเทพฯ: พลัสเพรส.
ปาณิศา มีแสง. (2556). ศึกษาแนวคิดเรื่องเทพอารักษ์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูกับเทพอารักษ์ในพุทธศาสนาเถรวาท: กรณีศึกษาเฉพาะเทพจตุโลกบาล(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11).กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
พระอธิการประทุม ปรางมาศ. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบเทวดาในทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับเทพในทัศนะของศาสนาพราหมณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2545). ไสยศาสตร์ครองเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศุภสัณห์ จายนียโยธิน. (2554). การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องจตุคามรามเทพในมุมมองพระพุทธศาสนา(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุพาลงกรณราชวิทยาลัย.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.