ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ PACE Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักการใช้ภาษาไทยและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

สาวิณี รอดบัณฑิต
กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักการใช้ภาษาไทยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ PACE Model 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ PACE Model และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัด การเรียนรู้โดยใช้ PACE Model กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนอนุบาลสระแก้ว จำนวน 18 คน
ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ PACE Model จำนวน 12 คาบ (IOC = 1.00) 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักการใช้ภาษาไทย และ 3) แบบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test แบบ Dependent


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักการใช้ภาษาไทยของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ PACE Model สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 2) ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ PACE Model สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรัชญา แสงยนต์. (2560). การสร้างแบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน (Marzano’s taxonomy). วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(3), 31-39.

ชวาล แพรัตกุล. (2552). เทคนิคการวัดผล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิฑูรย์การปก.

โชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2548). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบูรณ์ ตันยะ. (2545). การวัดประเมินผลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Adair-Hauck, B., & Donato, R. (2002). The PACE Model: A Story-Based Approach to Meaning and Form for Standards-Based Language Learning. The French Review, 76, 265-276.

Marzano, R. J., & Kendall, J. S. (2006). The New Taxonomy of Educational Objectives. (2nd ed.). California: Corwin

Shrum, J. L., & Glisan, E. W. (2009). Teacher's Handbook: Contextualized Language Instruction. (4th ed.) Boston: Cengage Learning.