ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จรีย์ภัสร์ จุฑาธนัญญ์
นัทธ์หทัย อัครธนเตชสิทธิ์
เตือนใจ แสงทอง
สฤษฎ์ ตะเส

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี พ.ศ. 2565 จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ t-test, สถิติ F-test และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหูคูณ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยลักษณะการเป็นผู้ประกอบการและปัจจัยความได้เปรียบในการแข่งขัน มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมาก  2) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เพศ อายุ อายุกิจการ ระดับการศึกษา จำนวนเงินลงทุน และแหล่งที่มาของเงินทุน แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ และปัจจัยความได้เปรียบในการแข่งขัน มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนะพัฒน์ วิริต. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จการดําเนินธุรกิจ(SMEs)จากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการในจังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 458-473.

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.). (2565). สถิติจำนวน SMEs ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.tcg.or.th/news_inside.php?news_id=37

วสุธิดา นักเกษม และ ประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2148–2167.

วิจัยกรุงศรี. (2566). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยปี 2566-68. สืบค้นจากhttps://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-outlook-2023-2025.

ศิวกร อโนรีย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน และความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว). (2565). ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-2022120713 5213.pdf

สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว). (2565). รายงานสถานภาพวิสาหกิจขนาดย่อยประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20221207135213.pdf

อัมพร ชูสนุก (2564). ความได้เปรียบในการแข่งขัน และผลการดำเนินงานขององค์การ: มุมมองของทฤษฎีมุมมองฐานทรัพยากร. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5(2), 119-134.

Abraham, H. (2001). Motivation and Personality. (2nd ed.) New York: Harper and Row.

Annarelli, A., Battistella, C., & Nonino, F. (2020). Competitive Advantage Implication of Different Product Service System Business Models: Consequences Of ‘Not-Replicable’ Capabilities. Journal of Cleaner Production, 247, 119-121.

Burmann, C., & Zeplin, S. (2006). Building Brand Commitment: A Behavioural Approach To Internal Brand Management. The Journal of Brand Management, 12(4), 279-300.

Covin, J. G., & Slevin, D. P. (1989). Strategic Management of Small Firms in Hostile and Benign Environments. Strategic Management Journal, 10(1), 75-87.

Gregory, G. D., Lumpkin, G. T., & Taylor, M. L. (2005). Strategic Management Process. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill Irwin.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Translating Strategy into Action the Balanced Scorecard. Boston: Harvard Business School Press.

Porter, M. E. (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: The Free Press.

Rosenzweig, E. D., & Roth, A. V. (2004). Towards A Theory of Competitive Progression: Evidence from High-Tech Manufacturing. Production And Operations Management, 13(4), 354-368.

Siriwan, U. et al. (2003). The Management of The Small and Medium Enterprises to Achievement Competitive Advantage in Northern Thailand. Conference of the International Journal of Arts & Sciences, 6(1), 147-157.

Wang, X., Kamkankaew, P., & Thanitbenjasith, P. (2023). An Analyzing on Entrepreneurship Development to Drive the Business Growth of The Construction Industry in Liao Ning Province, China. International Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews, 3(4), 205–212.

Wei, Q., Guo, H., Ling, Q., Nan, X., Wei, Y.C., & Wunsuk, P. (2023). The Impact of Entrepreneurship, Leadership, Business Characteristics, And Marketing Strategies on The SMEs Food Business’s Performance in China. International Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews, 3(4), 141–150.

Yamane, Y. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.