แบบเรียนภาษาไทยชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาทีกับการนำเสนออุดมการณ์ท้องถิ่นนิยม

Main Article Content

ทรงเกียรติ สารสุวรรณ
นันทวัลย์ สุนทรภาระสถิตย์

บทคัดย่อ

แบบเรียนมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการนำเสนออุดมการณ์ที่รัฐพึงประสงค์ให้แก่เยาวชน ในแต่ละช่วงเวลาความคาดหวังของรัฐต่อเยาวชนที่พึงประสงค์ย่อมแตกต่างกันไป ในช่วงที่ผ่านมาแบบเรียนรายวิชาภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ได้รับความสนใจและข้อวิพากษ์วิจารณ์ด้านเนื้อหาอย่างมาก ซึ่งข้อคิดเห็นที่ปรากฏในโลกออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นการพิจารณาแบบเรียนจากมุมมองของปัจจุบัน แม้จะเพื่อเสนอแนะให้เกิดการปรับปรุงเนื้อหาแบบเรียน แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นการแสดงทัศนะอย่างละเลยบริบทของการสร้างแบบเรียนดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญของประเทศในปี 2540 อันเป็นสถานการณ์ที่ผลักดันให้ประเทศไทยหันมาให้ความสำคัญกับท้องถิ่นและเศรษฐกิจพอเพียง


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนําเสนออุดมการณ์ท้องถิ่นนิยมในบทอ่านจากแบบเรียนรายวิชาพื้นฐานวิชาภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาปี 2551 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้กรอบแนวคิดเรื่องกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ เป็นกรอบในการวิจัย กลุ่มข้อมูลคือบทอ่านจากแบบเรียนรายวิชาพื้นฐานวิชาภาษาไทยชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาปี 2551 จำนวนทั้งสิ้น 88 บท วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการบรรยายเชิงพรรณนาวิเคราะห์ตัวบท ผลการศึกษาพบว่าสังคมไทยในทศวรรษ 2540 (พ.ศ.2540 – 2549) ได้เกิดกระแสท้องถิ่นนิยมขึ้น คือ การหันกลับมาให้ความสำคัญกับท้องถิ่นซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 แบบเรียนรายวิชาพื้นฐานวิชาภาษาไทยชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาปี 2551 ปรับปรุงในช่วงที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ บทอ่านในแบบเรียนดังกล่าวทำหน้าที่เป็นกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐถ่ายทอดและปลูกฝังอุดมการณ์ท้องถิ่นนิยมให้แก่ผู้เรียนใน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ท้องถิ่นนิยมที่สัมพันธ์กับพื้นที่ 2) ท้องถิ่นนิยมที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจ และ 3) ท้องถิ่นนิยมที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการศึกษาแบบเรียนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแบบเรียนกับบริบททางสังคม และบทบาทของแบบเรียนในฐานกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์. (2561). การวิเคราะห์วิถีชีวิตประชาธิปไตยในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษา. มนุษยสังคมสาร, 16(1), 117 – 136.

เชรษฐรัฐ กองรัตน์ (2565). การวิเคราะห์บทอ่านในห์นังสือเรียนภาษาไทย “วิวิธภาษา” ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบััณฑิิตศึึกษามหาจุุฬาขอนแก่น, 9(1), 138-152.

ณัทธนัทธ์ เลี่ยวไพโรจน์ (2562). เปลื้องปก: การเมืองเรื่องของปกแบบเรียนหน้าที่พลเมืองทศวรรษ 2550. วารสารการเมืองการปกครอง, 10(3), 258 – 287.

ทัศนา พฤติการกิจ. (2558). บริบทชุมชนภาคใต้สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(1), 7 -15.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). ถอดบทเรียนวิกฤตต้มยำกุ้ง. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566, จาก https://www.bot.or.th/th/our-roles/special-measures/Tom-Yum-Kung-lesson.html.

ธีรนันทน์ ไกรเลิศ. (2558). เศรษฐกิจพอเพียงระวังสับสนกับเกษตรทฤษฎีใหม่. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.stou.ac.th/study/sumrit/7-58(500)/page1-7-58(500).html.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2564). ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียน และอนุสาวรีย์ ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก. (พิมครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มติชน.

นิยม รัฐอมฤต. (2558). วิกฤตต้มยำกุ้ง. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index. php.

นฤมล นิ่มนวล. (2564). กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองของรัฐไทย: กรณีศึกษาเนื้อหาแบบเรียนในยุคเผด็จการทหาร ระหว่างปี พ.ศ. 2503 ถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516. วารสารรัฐศาสตร์นิเทศ, 7(1), 183-217.

เบลซีย์, แคทเธอรีน. (2549). หลังโครงสร้างนิยมฉบับย่อ : Poststructuralism a very short introduction แปลโดย อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร องค์กรมหาชน.

เบเคอร์,คริส และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2566). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: มติชน.

ปรีชา คุวินทรพันธุ์. (2547). สังคมและวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริส เบเคอร์. (2566). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: มติชน.

ผุสดี ทิพทัส. (2553). สถาปัตยกรรมหลัง พ.ศ.2540 : วิกฤตการณ์และทางเลือกของสถาปนิกไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.

มติชนออนไลน์. (2566). ย้อนดราม่า ภาษาพาที จาก ‘เกี๊ยวใจแตก’ สู่ ‘ข้าวคลุกน้ำปลา’ ถึงเวลาปรับแบบเรียนใหม่หรือยัง?.. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2566, จาก https://www.matichon.co.th/education/ news_3939414.

รวิพรรณ สาลีผล. (2555). ประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจไทย ตั้งแต่ 2475. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สันติ เล็กสกุล. (2562). แบบของ “คนดี” ในแบบเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารปณิธาน, 15(2), 363 – 390.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่13). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่13). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่12).กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงัคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544). สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_ dl_link.php.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงัคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549). สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_ link.php.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงัคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554). สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_ link.php.