แนวทางการใช้นวัตกรรมในการสอนสังคมศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

พระปลัดยุทธนา มาลาวงษ์
ศักดิ์ดา งานหมั่น

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้ทำการศึกษา แนวทางการใช้เทคโนโลยีในการสอนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งการศึกษา ได้ประเด็นหลักสำคัญในการนำเสนอ ดังนี้ แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารสถาบันอุดมศึกษา แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาสังคมศึกษา การใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสังคมศึกษา


แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย ความเป็นเลิศ การเติบโตตามศักยภาพ และความเป็นผู้นำ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการบริหารอุดมศึกษา ไว้ดังนี้ สร้างคนเก่ง คนแกร่ง และคนกล้า ส่งเสริมให้คนเก่งให้เก่งถึงที่สุด ส่งเสริมสำนึกแห่งความเป็นเลิศให้เกิดขึ้นในสถาบัน สร้างและส่งเสริมความรู้ในทุกด้านของสังคม เป็นผู้นำทางความคิด ชี้ถูก ชี้ผิด ให้กับสังคม มีทางเลือกที่ดีงามให้กับคน สังคม และโลก และผดุงคุณค่าแห่งการตื่นตัวในการเปลี่ยนแปลง แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาสังคมศึกษา นวัตกรรมทางการศึกษามีกระบวนการหลากหลายวิธี เช่นความคิดสร้างสรรค์ ความต้องการแก้ปัญหา การจัดการและต่อยอดองค์ความรู้ และการปรับปรุงและพัฒนา ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยม เนื่องจากประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณ อีกทั้งมีโอกาสสำเร็จ การใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสังคมศึกษา การใช้นวัตกรรมในนวัตกรรมในการสอนสังคมศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา มาใช้กับผู้เรียนเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เพื่อนำผลของการศึกษาไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโดยใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระดรัณภัทร ศรีทับทิม. (2563). ศึกษาการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญา, 27(2), 129-138.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). ผู้นำองค์กรในโลก VUCA. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(3), 450-458.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). การศึกษาไทย 4.0 โรงเรียนผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รัตน์ขนก พราหมณ์ศิริ. (2564). การใช้เทคโนโลยีกับการจัดการศึกษาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 16(1), 27-38.

ศิริเกษม ศิริลักษณ์. (2564). รูปแบบการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในยุคดิจิทัล(วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุทธิพร ลีเจริญ. (2565). แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดกาญจนบุรี(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมควร นามสีฐาน, ทวีศิลป์ สาระแสน และประยูร แสงใส. (2561). การพัฒนานวัตกรรมนวัตกรรมในการสอนสังคมศึกษาแนวพุทธในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(1), 82-95.

Karnouskos, S. (2017). Massive Open Online Courses (MOOCS) As an Enabler for Competent Employees and Innovation in Industry. Computers in Industry, 91, 1-10.

Shapiro, H. B., Lee, C. H., Roth, N. E. W., Li, K., Çetinkaya-Rundel, M., & Canelas, D. A. (2017). Understanding The Massive Open Online Course (MOOC) Student Experience: An Examination of Attitudes, Motivations, And Barriers. Computers & Education, 110, 35-50.

Watson, S. L., Watson, W. R., Yu, J. H., Alamri, H., & Mueller, C. (2017). Learner profiles of attitudinal learning in a MOOC: An explanatory sequential mixed methods study. Computers and Education, 114, 274-285.