เครื่องมือสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้งในระบบบริการสาธารณสุขไทยโดยพุทธสันติวิธีของโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาเครื่องมือสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้งในระบบบริการสาธารณสุขไทยของโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดอริยสัจจ์โมเดลเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พระสงฆ์ นายแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ จำนวน 15 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า พุทธสันติวิธีที่นำมาบูรณาการในการจัดการความขัดแย้ง ประกอบด้วย อริยสัจ 4 กิจในอริยสัจ 4, กถาวัตถุ 10 และ โยนิโสมนสิการ บูรณาการเข้ากับบริบทงานห้องคลอดในบริบทนี้คือการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับบริการชาวต่างชาติ จนบางครั้งอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนในการคลอด เพื่อใช้ในการให้ข้อมูลผู้มารับบริการรับรู้เกี่ยวกับสภาวะของตน เคารพกฎระเบียบและปฏิบัติตนตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ในการให้ข้อมูลผู้มารับบริการรับรู้เกี่ยวกับข้อมูลการคลอดการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในแต่ระยะการคลอด เพื่อไปสู่การคลอดที่ปลอดภัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จงรักษ์ ทำมาอ่อง. (2566). งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลสามพราน. สัมภาษณ์, 4 สิงหาคม.
ประกอบ ว่องไว. (2566). สูติแพทย์ โรงพยาบาลสามพราน. สัมภาษณ์, 2 สิงหาคม.
ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.
ปาริชาติ สุทธิวารี. (2566). งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลสามพราน. สัมภาษณ์, 5 สิงหาคม.
พรศรี ภูมิสามพราน. (2566). งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลสามพราน. สัมภาษณ์, 4 สิงหาคม.
พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมควร กวียะ. (2527). การสื่อสารมวลชน บทบาทหน้าที่ เสรีภาพและความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: พชรกานต์การพิมพ์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 55). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). ความขัดแย้ง: การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่.
เสาวลักษณ์ ทำมาก และ บุญทิวา สู่วิทย์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติกับการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์, 24(2), 51-66.
อรวรรณ พึงประสพ. (2566). งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลสามพราน. สัมภาษณ์, 2 สิงหาคม.
เอก พุทธิสาร. (2566). บริษัท Dynamicwork จำกัด. สัมภาษณ์, 4 สิงหาคม.
Argyris, C. F. (1968). Audiovisual Materials: Their Nature and Use. (4th ed.). New York: Harper & Row.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Lin, A. K. (2566). Tharatip Foods Product Company Limited. Interview, August 4.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.