แนวทางส่งเสริมการบรรพชาอุปสมบทของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย

Main Article Content

พระครูวิธานอุดมกิจ จงเจตดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการบรรพชาอุปสมบทในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการลดลงของผู้บรรพชาอุปสมบทในสังคมไทย และ 3)  เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการบรรพชาอุปสมบทของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย ผู้วิจัยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยดังนี้
1) การบรรพชาและอุปสมบทในคัมภีร์พระพุทธศาสนาได้แสดงความหมายไว้ชัดเจนว่า ในสมัยพุทธกาลใช้คำว่า “บรรพชา” หมายถึง การออกบวช หรือการเว้นชั่ว ต่อมาในปัจจุบันได้หมายถึงการบวชสามเณร ส่วนคำว่า “อุปสมบท” นั้นแปลว่า การเข้าถึง ซึ่งหมายถึงการเข้าถึงความสงบ และหมายรวมถึงการบวชพระภิกษุและภิกษุณีในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันใช้ในการเรียกการบวชพระภิกษุว่า “การอุปสมบท” หรือ “การบรรพชาอุปสมบท”
2) สภาพปัญหาการลดลงของผู้บรรพชาอุปสมบทในสังคมไทย เกิดจากปัญหาดังนี้คือ ปัญหาที่เกิดจากนโยบายภาครัฐ เพราะนโยบายภาครัฐมีผลกระทบต่อสังคมเป็นวงกว้าง เช่น นโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือการศึกษาภาคบังคับ เป็นต้น ปัญหาเกิดจากสภาพเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก และผู้คนในชนบทหลั่งไหลเข้ามาทำงานในเมือง ปัญหาเกิดจากคณะสงฆ์ ที่ยังไม่พัฒนาด้านการศึกษาคณะสงฆ์ให้ทันกับโลกปัจจุบัน ประกอบกับปัญหาข้อวัตรปฏิบัติของสงฆ์ที่เป็นข่าวทางสื่อออนไลน์ และปัญหาหลังการบรรพชาอุปสมบท คือการได้รับประโยชน์จากการบรรพชาอุปสมบทอย่างแท้จริง
3) แนวทางส่งเสริมการบรรพชาอุปสมบทของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย แบ่งออกเป็น 3 แนวทางประกอบด้วย การส่งเสริมการบรรพชาอุปสมบทโดยภาครัฐ คือหน่วยงานรัฐต้องร่วมมือกันกับคณะสงฆ์ในการกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมการบรรพชาอุปสมบท การส่งเสริมการบรรพชาอุปสมบทโดยคณะสงฆ์ โดยคณะสงฆ์ต้องพัฒนาประโยชน์ที่จะได้รับจากการบรรพชาและอุปสมบท และการส่งเสริมการบรรพชาอุปสมบทโดยภาคเอกชนและประชาสังคม โดยร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาคเอกชนและประชาชนสนับสนุนการบรรพชาอุปสมบทในรูปแบบต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แก้ว ชิดตะขบ. (2555). ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ.ปยุตโต). (2557). พุทธธรรม. (ฉบับปรับปรุงและขยายความ). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาทวี วิสารโท. (2560). การบวชเป็นศาสนทายาทในพุทธศาสนาแบบเถรวาท. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 15-26.

พระมหาสัญญา ขนฺติธมฺโม. (2561). รูปแบบการปกครองสงฆ์ไทยในอนาคต. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 711-728.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.

รัฐกรณ์ พงษ์ประเสริฐ. (2564). ปัจจัยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนสามเณรในพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 2143-2153.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.