การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักปฏิสัมภิทา 4 ของคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

พระภาวนามังคลาจารย์ ธนมงคล นาประกอบ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักปฏิสัมภิทา 4 สำหรับคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อประเมินความต้องการเกี่ยวกับระบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักปฏิสัมภิทา 4 สำหรับคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์  3) เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักปฏิสัมภิทา 4 สำหรับคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์  4) เพื่อพัฒนาระบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักปฏิสัมภิทา 4 สำหรับคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยและพัฒนา (R & D) ประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูป เพื่อพัฒนาระบบและการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 รูป/คน เพื่อตรวจสอบระบบโดยการวิเคราะห์ข้ออมูลจากการวิเคราะห์เนื้อหา


             ผลการวิจัย พบว่า     
                 1. ด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักปฏิสัมภิทา 4 สำหรับคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการนำหลักปฏิสัมภิทา 4 มาบูรณาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยระบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ‘MOLQ’ เพื่อพัฒนาพระนักเผยแผ่ให้มีปัญญาแตกฉานด้านอัตถปฏิสัมภิทา ด้านธัมมปฏิสัมภิทา ด้านนิรุตติปฏิสัมภิทาและด้านปฏิภาณปฏิสัมภิทา กล่าวคือ ปรีชาแจ้งในอรรถ เข้าใจในธรรม ช่ำชองในภาษา คิดแก้ปัญหาทันการณ์
             2) ด้านการประเมินความต้องการเกี่ยวกับระบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักปฏิสัมภิทา 4 สำหรับคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า การปฏิบัติงานของคณะสงฆ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ แบ่งเป็น 2 ภารกิจ ได้แก่ (1) ภารกิจหลัก คือ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยนำพระธรรมคำสอนให้ราษฎรบนพื้นที่สูงและชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และ (2) ภารกิจรอง คือ การปฏิบัติหน้าที่พระนักพัฒนา เช่น ให้การศึกษา การสร้างโรงเรียน การสอนหนังสือภาษาไทยและวิชาอื่น ๆ  การสร้างถนน ฯลฯ       
             3) ด้านการพัฒนากรอบแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักปฏิสัมภิทา 4 สำหรับคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ประกอบด้วย (1) อัตถปฏิสัมภิทา ปรีชาแจ้งในอรรถ  (2) ธัมมปฏิสัมภิทา เข้าใจในธรรม  (3) นิรุตติปฏิสัมภิทา ช่ำชองในภาษา และ (4) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คิดแก้ปัญหาทันการณ์           

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระครูอุทัยกิจจารักษ์ (สุรางค์ สุจิณฺโณ). (2557). รูปแบบการบริหารจัดการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ คำวัด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญทิน เทาศิริ. (2562). กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักปฏิสัมภิทา 4 สำหรับพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(6), 3154-3171.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.

สิริวัฒน์ คำวันสา. (2534). ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.