การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อลดความขัดแย้งในชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระปลัดสุรศักดิ์ วรวิทยธาดา

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความขัดแย้งในชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร จำแนกตามตัวแปรอิสระ และ 3) เพื่อเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อลดความขัดแย้งในชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร งานวิจัยเป็นเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 คน ที่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร โดยการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน


ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์มีการประยุกต์ใช้หลักสังควัตถุ 4 ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ประชาชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปันซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน 2) พูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ และพูดให้กำลังใจกัน 3) มีการคอยช่วยเหลือเมื่อมีคนเดือดร้อนโดยไม่หวังผลตอบแทน ร่วมกันพัฒนาชุมชน 4) มีการปฏิบัติกับทุกคนในชุมชนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน


ผลการเปรียบเทียบความขัดแย้งในชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร พบว่า ประชาชนในชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์ที่มี เพศ อายุ สถานภาพครอบครัว ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์ เขตหนองจอก จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยรวม ไม่แตกต่างกัน


ประชาชนในชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์จึงได้นําหลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นหลักธรรม สำหรับการในการใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนส อาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 47). กรุงเทพฯ: เพ็ทแอนด์โฮม.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.