การปฏิบัติวิปัสสนาในนชีรติสูตร

Main Article Content

พระอธิการดิเรก บัวหลวง
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมสำคัญในนชีรติสูตร 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในนชีรติสูตร การวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า หลักธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติธรรมเพื่อออกจากทุกข์ หากมีการศึกษาความเป็นมาความสำคัญเนื้อหาของหลักธรรมและหลักปฏิบัติการเจริญวิปัสสนาภาวนาในนชีรติสูตรที่สามารถจะนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดความเข้าใจจนสามารถเข้าถึงธรรมอันประเสริฐของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงตรัสไว้ในนชีรติผลสูตรนี้ และเสริมสร้างองค์ความรู้ที่สามารถจะนำมาเป็นพื้นฐานแนวทางในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเพื่อเป็นแนวทางการศึกษาจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตและเพื่อให้พระพุทธศาสนาดำรงสืบต่อไป การเกิดปัญญารู้เห็นตามเป็นจริง ทำให้พ้นทุกข์ทั้งปวงเข้าถึงสันติสุขอย่างแท้จริง ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข เนื้อหาและหลักธรรมสำคัญในนชีรติสูตร ว่าด้วยเรื่อง รูป 1 ความโลภ 1 พรหมจรรย์ 1 ตบะ 1 เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองให้ก้าวไปสู่การดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในชีวิต เหมาะสมสําหรับผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์ ซึ่งการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในนชีรติสูตรเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งในสภาวะรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระพุทธโฆสเถระ. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

พระอำพัน นิลใน และ ธานี สุวรรณประทีป. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาในวิตถตธนสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 538-545.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาอรรถกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 47). กรุงเทพฯ: เพ็ทแอนด์โฮม.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.