ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเข้าศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิทยาลัยภาครัฐในสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

กิตติวินท์ สำเภาทอง
มังกร หริรักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของนักศึกษาวิทยาลัยภาครัฐในสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของนักศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจที่ส่งผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
      1) ผลการศึกษาระดับการเลือกสถานศึกษาเข้าศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อพบว่า ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านทัศนคติของผู้เรียนและด้านการประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านลักษณะของวิทยาลัย อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
      2) ผลการศึกษาระดับปัจจัยการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าด้านข้อผูกผัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ นิสัยและธรรมเนียม ส่วนเป้าหมายหรือจุดประสงค์ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
      3) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยการตัดสินใจมีความสัมพันธ์กับการเลือก เข้าศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิทยาลัยภาครัฐในสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครปฐม ในภาพรวม มีความสัมพันธ์กันสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 88.60 (R2=0.886)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เตือนใจ อารีโรจนนุกูล. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกศึกษาต่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนประเภทขยายโอกาสที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.

นเรนทร์ แก้วใหญ่. (2555). การวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจในการเลือกศึกษาต่อของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อิสท์บางกอก(วิทยาพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปวีณ พงษ์โอภาส. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี(การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ศิริวรรณ์ ไชยภักดิ์. (2555). แรงจูงใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในการเลือกศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาที่รองรับตลาดแรงงานในประชาคมอาเชียน(การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

Griffiths, D. E. (1964). The Nature and Meaning of Theory. Teachers College Record, 65(10), 95-118.

Reeder, W. W. (1971). Partial Theories from the 25 Years Research Program on Directive Factors in Believer and Social Action. New York: McGraw Hill.