ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้

Main Article Content

อภิญญา ปานโชติ
มังกร หริรักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา  2) เพื่อศึกษาความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 247 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ  โดยใช้วิทยาลัยเป็นชั้นภูมิ แล้วกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบสัดส่วนของตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาของจากกลุ่มประชากร กำหนดผู้บริหารสถานศึกษาทุกคนเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรเกณฑ์ โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย พบว่า


1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารของสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก


2. ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก


3. ทักษะการบริหารของผู้บริหารของสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ได้แก่ ทักษะด้านการวินิจฉัย (X4) และทักษะด้านมโนภาพ (X3) ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .856 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 73.30 (R2=.733)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2561-2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.

เคน บลังชาร์ด. (2550). ผู้นำเหนือระดับด้วยวิสัยทัศน์เหนืออนาคต. แปลจาก Leading at a Higher Level. แปลโดย ตวงทอง สรประเสริฐ. กรุงเทพฯ: ดีเอ็มจี.

จรูญ สุขเกษม. (2550). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านผู้เรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

เพ็ญศิริ ฤทธิกรณ์. (2559). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2(วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาน พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย. (2558). การปฏิรูประบบราชการรอบใหม่. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2558, จาก http://nbt.prd.go.th/home.html.

สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้. (2564). แผนพัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2568). นครศรีธรรมราช: สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้.

Best, J. W. (1970). Research In Education. (2nd ed). New Jersey: Prentice Hall.

Dubrin, A., J. (2012). Essentials of Management. (9th ed.). Mason: South-Western Cengage Learning.

Buytendijk, F. (2006). The Five Keys to Building a High-Performance Organization. Business Performance Management Magazine, 4(1), 24-47.

Yamane, Y. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.