โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพการให้บริการและภาพลักษณ์ของตราสินค้าที่มีต่อความพึงพอใจและการใช้บริการซ้ำของ แอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่

Main Article Content

พศิน จิวมงคลชัย
ประพล เปรมทองสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับ ภาพลักษณ์ของตราสินค้า คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจและการใช้บริการซ้ำของลูกค้าที่สั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นฟู้ดเดลิเวอรี่ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงของภาพลักษณ์ของตราสินค้า คุณภาพการให้บริการ ที่มีต่อความพึงพอใจในการใช้บริการของลูกค้าที่สั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นฟู้ดเดลิเวอรี่ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงของความพึงพอใจที่มีต่อการใช้บริการซ้ำของลูกค้าที่สั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นฟู้ดเดลิเวอรี่ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่ใช้บริการแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ ในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 420 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการ ภาพลักษณ์ของตราสินค้า ความพึงพอใจ และการใช้บริการซ้ำพบว่า ทั้งหมดมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากด้วยค่าเฉลี่ย 4.17, 4.17, 4.17 และ 4.14 2) ภาพลักษณ์ของตราสินค้าไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ คุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3) ความพึงพอใจ มีอิทธิพลทางตรงต่อการใช้บริการซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนากานต์ ทองศักดิ์. (2564). อิทธิพลของคุณภาพระบบ คุณภาพข้อมูล คุณภาพบริการ ความยุติธรรมของราคาและการส่งเสริมการตลาดของแอพส่งอาหารต่อความพึงพอใจและความตั้งใจใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชุติมา แก่นจันทร์. (2562). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ การรับรู้คุณค่า และภาพลักษณ์ต่อความเต็มใจที่จะจ่ายต่อสินค้าและบริการผ่านความพึงพอใจของลูกค้าของธนาคารออมสิน เขตภาคตะวันตก(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปริศนา มั่นเภา และ ฐิติยา เนตรวงษ์. (2564). ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อยกระดับธุรกิจบริการในยุคโควิด-19. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(1), 57-65.

ปุญญภพ ตันติปิฎก. (2 พฤศจิกายน 2564). อินไซด์ธุรกิจ Food delivery. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2565, จากhttps://www.scbeic.com/th/detail/product/7906

ผู้จัดการออนไลน์. (2565). สำรวจผู้เล่น Food Delivery. วันที่สืบค้น 1 มกราคม 2566 เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/daily/detail/9650000119249

พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล, ปิยากร พรพีรวิชญ์, เปมิกา พันธุ์สุมา และ พิจักษณ์ วราเสนีย์วุฒิ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในการใช้บริการแอปพลิเคชันของฟู้ดแพนด้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑ. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 29-42.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 136-148.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). Food Delivery ปี 65. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2565, จากhttps://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Food-Delivery-FB-23-12-21.aspx

อรวรรณ เสน่ห์ลักษณา. (2558). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อความจงรักภักดีในผลิตภัณฑ์นมผง S-26 ของผู้บริโภค ในเขตพื้นที่พัทยา จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Best, J. W. (1993). Research in education. (7 Ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Joseph, F., Hair, Jr., William, C., Black Barry, J., Babin Rolph, E., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis. (7th Ed.). New York: Pearson.

Lahap, J., Ramli, N. S., Said, N. M., Radzi, S. M., & Zain, R. A. (2016). A study of brand image towards customer's satisfaction in the Malaysian hotel industry. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 224, 149-157.

Marketeer Team. (2021). เจาะอินไซด์ Food delivery. วันที่สืบค้น 10 มกราคม 2566 เข้าถึงได้จาก https://marketeeronline.co/archives/238462

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. (1988). ServquaL: A Multiple-Item Scale For Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.