การรับรู้คุณลักษณะของนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อการใช้แอปพลิเคชันสำหรับประชุมออนไลน์ของผู้ใช้เจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ทรงสิทธิ์ เทศรุ่งเรือง
นพรัตน์ บุญเพียรผล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ ประกอบด้วยเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่ส่งผลต่อการใช้แอปพลิเคชันสำหรับประชุมออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณลักษณะของนวัตกรรม ประกอบด้วย ประโยชน์เชิงเปรียบเทียบ ความซับซ้อน ความเข้ากันได้ โอกาสในการสังเกตเห็นได้ และโอกาสในการทดลองใช้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้แอปพลิเคชันสำหรับประชุมออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงเชิงปริมาณ โดยเก็บแบบสอบถามผ่านแบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยใช้งานแอปพลิเคชันสำหรับการประชุมออนไลน์เจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ความถี่ การวัดค่ากลางของข้อมูล การวัดการกระจายของข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง T-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้านเพศ และอาชีพส่งผลต่อการใช้แอปพลิเคชันสำหรับประชุมออนไลน์ของผู้ใช้เจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ปัจจัยที่การรับรู้คุณลักษณะของนวัตกรรมด้านความซับซ้อน โอกาสในการสังเกตเห็นได้ และโอกาสในการทดลองใช้ ส่งผลต่อการใช้แอปพลิเคชันสำหรับประชุมออนไลน์ของผู้ใช้เจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยขุนพล. (2556). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กรมควบคุมโรค. (เมษายน 2565). แนวทางในการปฏิบัติตามมาตารการการควบคุมโรคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1271420220510043552.pdf

กันทลัส ทองบุญมา. (2565). องค์ประกอบสำคัญของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการตลาดเชิงประสบการณ์. วารสารนิเทศศาสตร์, 40(3), 1-23.

โชติกา วิบูลย์ศิริวงศ์ และ ปฐมา สตะเวทิน. (2562). ศึกษาอิทธิพลของการโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงกับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านอินสตาแกรมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์, 38(1), 27 – 38.

ดวงใจ คงคาหลวง, พงษ์สันติ์ ตันหยง และ วัลลภา วิชะยะวงศ์. (2566). ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 308-326

ธนัชชา ชิดชม. (2564). รูปแบบการสื่อสารในองค์กรเพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความไว้วางใจในการทำงานเป็นทีมของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชน ABC ในจังหวัดสมุทรปราการ(วิทยานิพนธ์บริหาธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

บีซีไทย. (12 ธันวาคม 2565). การระบาดโควิดระลอกใหม่น่ากังวลแค่ไหน. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566, จาก https://www.bbc.com/thai/articles/cg38x5w2x16o

พนิดา ตันศิริ. (2563). โลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารนักบริหาร, 30(2), 169-175.

พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563. (2563). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 30 ก หน้า 20-23 (19 เมษายน 2563).

พีรวัส ปทุมุต์ตรังษี, จรูญ ชำนาญไพร และ เบญจฐา วัฒนกุล. (2566). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่น ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 49-60.

เพชรรัตน์ อนันต์เศรษฐการ และเสาวนีย์ มะหะพรหม. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสกินแคร์ผ่านสังคมออนไลน์ (Instagram) ของคนรุ่นใหม่กลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย ในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 9(1), 413-428.

ภาวิณี กาญจนาภา. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2565 ไตรมาส 1. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566, จาก https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2565/report_ict_q1_65.pdf.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (เมษายน 2565). ETDA เผยผลสำรวจ IUB 63 คนไทยใช้เน็ตปังไม่ไหว เกือบครึ่งวัน โควิด-19 มีส่วน. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566, จาก https://www.etda.or.th/th/ newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx

สุปัญญา ไชยชาญ. (2551). การบริหารการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-339.

Gursoy, D. Maier, A. & Chi, C. (2008). Generational Differences: An Examination of Work Values and Generational Gaps in The Hospitality Workforce. International Journal of Hospitality Management, 27(3), 448–458.

Ke, W., & Yu, S.-C. (2023). Abusive Supervision and Employee Creativity: The Mediating Effect of Role Identification and Organizational Support. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 7(1), 39–52.

Martin. (2005). From High Maintenance to High Productivity: What Managers Need to Know About Generation Y. Industrial and Commercial Training, 37(1), 39-44.

Rogers, E. M. (1983). The Diffusion of Innovations. New York: The Free Press.

Rogers, E. M. (2003). Diffusion of Innovations. New York: The Free Press.

Robbins, S.P., Coulter, M. (2008). Management. (10th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Smith, G. (2006). Erving Goffman. New York: Routledge.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.