การพัฒนาคลิปวีดิโอสั้นโดยใช้นาโน-อินฟลูเอนเซอร์ ผ่านช่องทางติ๊กต็อก และการจัดทำบัญชี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน บ้านถ้ำเสือโฮมสเตย์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

Main Article Content

พิชาภพ บุญเลิศ
มรรยาท ลิ้มโอฬารสุขสกุล
กฤษฎา สุริยวงศ์

บทคัดย่อ

การผลิตคลิปวิดีโอสั้นได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง แต่ทว่าองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตเพื่อใช้ประโยชน์กับชุมชนยังถูกศึกษาไว้ไม่มากนัก ดังนั้น การพัฒนาดังกล่าวจะเป็นแนวทางต่อยอดได้  บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาคลิปวีดิโอสั้น 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสารจากคลิปวีดิโอสั้น 3) เพื่อวิเคราะห์ผลการจัดทำบัญชีเกี่ยวกับความคุ้มค่าในการลงทุนผลิตคลิปวีดิโอสั้น โดยใช้นาโน-อินฟลูเอนเซอร์ ผ่านช่องทางติ๊กต็อก ส่งเสริมการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน บ้านถ้ำเสือโฮมสเตย์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ องค์ประกอบการสื่อสาร การจัดทำบัญชี เป็นกรอบการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ คณะกรรมการชุมชน และผู้ผลิตคลิปวีดิโอสั้น รวมจำนวน 10 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคลิปวีดิโอสั้นส่งเสริมการท่องเที่ยว ต้องอาศัยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และ การวางแผนก่อนการผลิต ระหว่างการผลิต และการเผยแพร่ 2. คลิปวีดิโอสั้นของนาโน-อินฟลูเอนเซอร์ เน้นองค์ประกอบการสื่อสารผ่านการเล่าเรื่องแบบไม่เป็นทางการ และการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะ 3. การจัดทำบัญชีทำให้เห็นผลลัพธ์ความคุ้มค่าการลงทุนผลิตคลิปสั้น รายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยรวมเท่ากับร้อยละ 20 % ของรายได้สุทธิ


องค์ความรู้จากงานวิจัย พบว่า การวางแผนการลงทุนผลิตสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ชุมชนมีส่วนร่วม ก่อให้เกิดความรู้แก่ชุมชน ด้วยหลักการการลงทุนที่สามารถวัดผลได้ถึงผลกำไร หรือ ขาดทุน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน. (2564). กลุ่มงานประชาสัมพันธ์. หลักการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566, จากhttps://km.labour.go.th/attachments /article/170/001.pdf

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. (2566). ข่าวสาร กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม.(26 ตุลาคม 2566). ข่าวประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566, จากhttps://www.dcce.go.th

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). กองบริหารความยั่งยืน สำนักผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.คู่มือแนวทางการออกแบบและพัฒนธุรกิจท่องเที่ยวสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566, จาก http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/T27356.pdf

เกียรติคุณ เยาวรัตน์. (2560). การศึกษากลยุทธ์การสร้างคลิปวิดีโอในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแรงจูงใจในการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง กรณีศึกษาเฟซบุ๊คแฟนเพจ “Runner’s Journeys”(การค้นคว้าอิสระบัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ.(20 เมษายน 2564). การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (LOW CARBON TOURISM). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566, จาก https://shorturl.asia/nNzfK

จารุวรรณ บุตรสุวรรณ์. (2558). กระบวนการจัดทำบัญชีต้นทุนเกี่ยวกับข้าวบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในบ้านเขวา ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ฐิศิรักน์ โปตะวณิช. (2562). แนวคิด Micro-celebrity และข้อสังเกตปรากฎการณ์ในประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 244-253.

ณัฏฐพงษ์ สายพิณ. (2563). ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมวิชวลผ่าน TikTok ในสังคมไทย. วารสาร สาร สื่อ ศิลป์, 3(5), 55-66.

ดวงมณี โกมารทัต. (2553). วิวัฒนาการทางบัญชีบริหาร. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 2(1), 55-56.

ธนวัฒน์ เอกสมุทร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรัมสื่อออนไลน์ด้านการท่องเที่ยว(วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธนาคารกรุงเทพ. (2565). SME social planet. ทริคปั้นยอดขายให้ปัง! ด้วยการตลาดผ่าน ‘วีดีโอสั้น’ ที่ทัชใจลูกค้าบนโซเชียลมีเดียได้มากกว่า. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566, จากhttps://www.bangkokbanksme.com/en/23-1up-create-great-sales-with-short-video-marketing

บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิค 19. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(1), 160-167.

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2550). เรื่อง บัญชีอย่างง่าย. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566, จากhttps://jfklib.oas.psu.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=1128768

พรพรรณ จันทร์แดง. (2559). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 4(2), 44-54.

พิชญา คำมงคล. (2563). การสร้างสรรค์วิดีโอสั้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับ ตำบลกรุงเชิง อำเภอนบพิตำจังหวัดนครศรีธรรมราช(จุลนิพนธ์ - นิเทศศาสตร์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภรภัทร ธัญญเจริญ. (2564). พฤติกรรมการเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจงานแอปพลิเคชั่น Tik Tok (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภวัต เรืองเดชวรชัย.(6 กันยายน 2566). ทีวีแชมป์สื่อโฆษณาสะเทือน “ดิจิทัล” มาแรงจ่อแซงใน 2 ปี. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566, จาก https://www.prachachat.net/marketing/news-1386735

ศศิ จรูญไพศาล. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์จากการใช้แอปพลิเคชั่น Tik tok ในประเทศไทย(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ. (2564). สื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทย. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 5(1), 37-56.

สงกรานต์ กลมสุข. (2558). ผลกระทบด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ จากการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ 4จังหวัดภาคตะวันตก เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 21(2), 266-281.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระราชูปถัมภ์. (2557). เรื่อง มาตรฐานทางวิชาชีพบัญชี. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566, จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/66893

สหไทย ไชยพันธุ์. (2555). แนวคิดทฤษฎีการพูดสื่อสารในสังคม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 4(3), 140-154.

STEPS Academy. (9 มีนาคม 2564). ทำความรู้จักกับ Nano-Influencer: ทำไมแบรนด์ควรทำการตลาดร่วมกับInfluencer กลุ่มนี้. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566, จาก https://stepstraining.co/strategy/ nano-influencer

Stollery, M. (2017). John Grierson’s “First principles” the emergence of the documentary tradition in the field of nonfiction film. Screen, 58(3), 309-311.

Oxford University Press. (2023). Oxford Learner’s Dictionaries. Retrieved from https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/contact-us