ความสามารถในการประกอบการด้านบริหารจัดการของบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Main Article Content

วิจิตรา จำลองราษฎร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการประกอบการด้านบริหารจัดการของบัณฑิตคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2) เพื่อค้นหาถึงแหล่งที่มาของความสามารถในการประกอบการด้านบริหารจัดการของบัณฑิตคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของทักษะการเป็นผู้ประกอบการและความรู้การเป็นผู้ประกอบการที่มีต่อความสามารถในการประกอบการด้านบริหารจัดการของบัณฑิตคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่เป็นผู้ประกอบการและดำเนินกิจการมาเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปี จำนวน 385 ราย ผู้วิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณในการวิเคราะห์ข้อมูล
          ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการประกอบการด้านบริหารจัดการของบัณฑิตคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แหล่งที่มาของความสามารถในการประกอบการด้านบริหารจัดการ ส่วนใหญ่มาจากแรงผลักดันภายในตัวเอง เรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา และจากครอบครัว เพื่อน และสภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่วนผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และความรู้การเป็นผู้ประกอบการ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความสามารถในการประกอบการด้านบริหารจัดการ โดยทักษะการเป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลต่อความสามารถในการประกอบการด้านบริหารจัดการมากที่สุด รองลงมาก คือ ความรู้การเป็นผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสมการพยากรณ์สามารถพยากรณ์ความสามารถในการประกอบการด้านบริหารจัดการได้ถูกต้องร้อยละ 61.50

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). รายงานวิจัยการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2565). รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2565. พิษณุโลก: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ณภัทร ทิพย์ศรี ภัทราพร สมเสมอ และกนกอร จิตจำนงค์. (2560). ความสามารถการเป็นผู้ประกอบการกับความสำเร็จในการประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงราย. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2(1), 1-14.

ธนณัฏฐ์ เนียมหอม และสมจิตร ล้วนจำเริญ. (2565). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและศักยภาพการจัดการธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานธุรกิจรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของผู้ประกอบการในประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 12(3), 628-641.

ธนาคารไทยพาณิชย์. (2566). เปิดสาเหตุที่ SME ไปไม่ถึงฝั่งฝัน. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2566, จากhttps://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/sme-not-successful. html.

ประสาน นันทะเสน และสุรีย์ เข็มทอง. (2561). การพัฒนารูปแบบความสามารถในการประกอบการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทย. RMUTT Global Business and Economics Review, 13(1), 57-72.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2551). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

วันวิสาข์ โชคพรหมอนันต์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดนาดอนหวาย จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 967-988.

สุภาภรณ์ โตโสภณ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(2), 275-289.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). รายงานสถานการณ์ MSME ปี 2565. กรุงเทพฯ:สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Cooney, T. M. (2012). Entrepreneurship Skills for Growth-Oriented Businesses. Retrieved October 31, 2022, from https://www.oecd.org/cfe/leed/Cooney_entrepreneurship_skills_HGF.pdf

Dess, G. G., Lumpkin, G. T. & Taylor, M. L. (2005). Strategic Management: Creating Competitive Advantage (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Ghafar, A. (2020). Convergence between 21st Century Skills and Entrepreneurship Education in Higher Education Institutes. International Journal of Higher Education, 9(1), 218-229.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Pearson Education.

Ko, C. R. & An, J. I. (2019). Success Factors of Student Startups in Korea: From Employment Measures to Market Success. Asian Journal of Innovation and Policy, 8(1), 97-121.

Likert, R., Seashore, S. E., Peter, H. W., Lesser, S. O., Bourne, F. S., Morrissett, I. & Hayes, S. P. (1957). Some Applications of Behavioral Research. Paris: Unesco.

Lopa, N. & Bose, T. (2014). Relationship between Entrepreneurial Competencies of SME Owners/Managers and Firm Performance: A study on Manufacturing SMEs in Khulna City. Journal of Entrepreneurship and Management, 3(3), 1-12.

Lumpkin, G. T. & Dess, G. G. (1996). Clarifying the Entrepreneurial Orientation Construct and Linking it to Performance. Academy of Management Review, 21(1), 135-172.

Lumpkin, G. T. & Dess, G. G. (2001). Linking Two Dimensions of Entrepreneurial Orientation to Firm Performance: The Moderating Role of Environment and Industry Life Cycle. Journal of Business Venturing, 16(5), 429-451.

Martha, C. Y. (2003). Current trends in business education. In Martha H. R. (Ed.), Effective Method of Teaching Business Education in the 21th Century. Reston: National Business Education Association.

Nandamuri, P. P. (2015). Entrepreneurial Management Capabilities-The Differential Effect of Role Models. Journal of Entrepreneurship and Management, 4(2), 22-29.

Oyeku, O. M., Oduyoye, O. O., Karimu, F. A., Akindoju, A. F. & Togunde, M. O. (2020). Entrepreneurial Capability and Entrepreneurial Success. European Journal of Business and Innovation Research, 8(5), 56-79.

Oyeku, O. M, Oduyoye O. O., Elemo G. N., Akindoju, A. F. & Karimu, F. A. (2014). Entrepreneurial Capability and Entrepreneurial Success of Small and Medium Enterprises: A Review of Conceptual and Theoretical Framework.Research on Humanities and Social Sciences, 4(17), 136-143.

Peschl, H., Deng, C. & Larson, N. (2021). Entrepreneurial Thinking: A Signature Pedagogy for An Uncertain 21st Century. The International Journal of Management Education, 19, 1-14.

Sirelkhatim, F. & Gangi, Y. (2015). Entrepreneurship Education: A Systematic Literature Review of Curricula Contents and Teaching Methods. Cogent Business & Management, 2, 1-11.

Yang, Y. (2014). Entrepreneur Ability Innovation Competence and Enterprise Performance. Academic Exploration, 10, 138-142.

Zhou, Y. & Bai, Y. (2016). An Empirical Study on the Key Factors of College Students’ Entrepreneurial Success. Advances in Computer Science Research, 59, 1256-1261.