พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เลือกใช้บริการประกันวินาศภัยในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อรวรรณ ธรรมาวุฒิกุล
ฐนันวริน โฆษิตคณิน
ชัญญณัท กริ่มใจ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เลือกใช้บริการประกันวินาศภัย และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เลือกใช้บริการประกันวินาศภัย ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล รูปแบบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ผู้บริโภคที่มีต่อการใช้บริการประกันวินาศภัย ในเขตกรุงเทพมหานคร คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรยามาเน่ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เลือกใช้บริการประกันวินาศภัยในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมผู้บริโภคเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน ซึ่งเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ความเชื่อถือและไว้วางใจได้ ความรวดเร็วหรือการตอบสนอง การเอาใจใส่ลูกค้า การรับประกัน และภาพลักษณ์ของการบริการ ตามลำดับ
2. ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค เพศ และจำนวนสมาชิกในครอบครัว ที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อปัจจัยกำหนดในการเลือกใช้บริการประกันวินาศภัยที่แตกต่างกัน แต่ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีผลต่อปัจจัยกำหนดในการเลือกใช้บริการประกันวินาศภัย จากการศึกษาวิจัยเกิดข้อค้นพบดังนี้ การลดความเสี่ยงจากความรู้สึกของลูกค้า ความมั่นคงของบริษัท การที่บริษัทมีความมั่นคง มีชื่อเสียงจะสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้มากและการให้ความรู้แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ จะทำให้ลูกค้ารับรู้ได้ถึงความปรารถนาดี และนำไปสู่การตัดสินใจใช้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ ชาวงษ์. (2564). เศรษฐศาสตร์มหภาค : ทฤษฎีและนโยบาย. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ณัฐกฤตา ปานเพ็ชร. (2561). การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการประกันภัยรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 40-53.

ธงชัย สันติวงษ์. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

นฤภัค ศักดาอชิรากร และคณะ (2564) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของบุคลากร วิทยาลัยชุมชนยะลา อำเภอเมืองยะลา กรณีศึกษา บริษัท ชับบ์ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ, 13, 3208-3219.

ประสาร บุญเสริม. (2559). การทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลของปริมาณเงิน ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศเบื้องต้น ดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนและดัชนีราคาผู้บริโภค ปี 1998-2005. จุลสารเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 4(3), 36-46.

พงษ์พิตร ตรงดี. (2563). โครงสร้างพฤติกรรมและผลการดําเนินงานของธุรกิจประกันวินาศภัยในจังหวัดเชียงใหม่(วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รสริน พัชร์กัญญา. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 28-39.

วัชระ ศิริโอวัฒนะ และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2559). ศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 2242-2254.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2564). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566). ธุรกิจประกันวินาศภัยปี 2566: เบี้ยรับฟื้นตัว แต่แรงสะเทือนจากการรับประกันโควิด19 ยังเป็นโจทย์ที่รอจัดการ (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3997). สืบค้นจากhttps://www.kasikornresearch. com/th/analysis/k-econ/financial/Pages/Non-Life-Insurance-EBR3997-Web-04-04-2023.aspx.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.).สถิติธุรกิจประกันวินาศภัย รายไตรมาสปี 2566 .สืบค้นจาก https://www.oic.or.th/th/industry/statistic/ data/39/2.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1990). Delivering Quality Service. New York: Free Press.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1987). Consumer Behavior. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Yamane, T. (1973). Statistics; An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row Publishers.