3P Model: รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน Gen Z ตามบริบทสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง

Main Article Content

มนตรี พรผล

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พัฒนา และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ฯ ซึ่งเป็นผู้เรียน Gen Z ที่มีความเป็นตัวตนเฉพาะตามเจนเนอเรชั่น การวิจัยนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ (1) R1D1 พัฒนาร่างต้นแบบรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์  (2) R2D2 ปรับปรุงต้นแบบให้สมบูรณ์ และ (3) R3D3  สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนหรือ 3P Model สำหรับการประเมินประสิทธิผลของ 3P Model ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 771 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม และแบบสอบถามออนไลน์


          ผลการวิจัยพบว่า การใช้รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3P Model: Participation, Positive approach  และ Positive behavior ที่เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้บริหารสถานศึกษา มีส่วนร่วมตั้งแต่การออกแบบกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจนถึงการประเมินผล (Participation) โดยใช้วิธีเชิงบวกแบบไม่บังคับ ไม่ลงโทษ เน้นสร้างความเข้าใจ มุ่งให้ผู้เรียนจัดการตัวเองได้ และจูงใจด้วยเกียรติบัตร (Positive approach) สามารถพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนด (Positive behavior) ได้ โดยมีผู้เรียนผ่านเกณฑ์ในระดับดีขึ้นไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.98 สำหรับผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ พบว่า ทั้งผู้ปกครองและผู้เรียนต่างกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมปรับพฤติกรรม สำหรับผลการประเมินประสิทธิผลของ 3P Model พบว่า นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมและพึงพอใจในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษรา เพิ่มสุขรุ่งเรือง. (2564). การเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารศิลปการจัดการ, 5(3), 645 - 656.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

โจน อี. เคอร์แรนท์. (2009). การสร้างวินัยเชิงบวก ความเข้าใจที่ถูกต้องและวิธีนำไปใช้. กรุงเทพฯ: คีน มีเดีย.

นริศรา ตาปราบ, สมเจตน์ ภูศรี และศิริ ถีอาสนา. (2562). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 548 – 65.

พรวีนัส อัมพวัน และปรีชา สามัคคี. (2561). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมสานที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีในระบบประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 79 - 85.

ภวิกา ภักษา และ นิรมล จันทร์สุวรรณ. (2565). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับผู้เรียน Generation Z. วารสารบัณฑิตวิจัย, 13(2), 1 – 12.

วัฒนพล ชุมเพชร, ภูริณัฐ หนูขุน และคุณัชญ์ เตียวนะ. (2561). การพัฒนาระบบเช็คชื่อเพื่อการติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักศึกษาแบบมีส่วนร่วมผ่านระบบออนไลน์. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 185 - 192.

สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดและวิธีการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

สมบัติ ตาปัญญา. (2563). การประยุกต์ใช้ วินัยเชิงบวกกับ 8 พฤติกรรมของเด็ก คู่มือสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง.(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: กรมกิจการเด็กและเยาวชน.

อัครเดช อินทรสถาพร, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ และ เจริญศรี พันปี. (2565). การเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลอัจฉรา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร., 10(1), 256 - 274.

Fadil, P. S., Ardiansyah, M. B., & Nadlifatin, R. (2019). Understanding the Generation Z Behavior on D-Learning: A Unified Theory of Acceptance and Use of Technology (UTAUT) Approach. International Journal of Emerging Technologies in Learning, 14(5), 20 – 33.

Münevver, C.., & Halisdemir, M. (2019). School Administrators and Generation Z Students’ Perspectives for a Better Educational Setting. Journal of Education and Training Studies. 7(2), 84 – 97.