บูรณาการการสอนผู้ขอบรรพชาอุปสมบทของพระอุปัชฌาย์ด้วยตจปัญจกกรรมฐาน

Main Article Content

พระครูอภิรักษ์ชินวงศ์ จักรพันธ์ ส่องแสง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาตจปัญจกกรรมฐานในพุทธศาสนาเถรวาท  2)  เพื่อศึกษาบทบาทของพระอุปัชฌาย์กับการสอนตจปัญจกกรรมฐานแก่ภิกษุผู้บวชใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาการบูรณาการการสอนผู้ขอบรรพชาอุปสมบทของพระอุปัชฌาย์ด้วยตจปัญจกกรรมฐาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า บูรณาการการสอนผู้ขอบรรพชาอุปสมบทของพระอุปัชฌาย์ด้วยตจปัญจกกรรมฐาน โดยพระอุปัชฌาย์จะเริ่มในช่วงที่กุลบุตรเปล่งคำขอบรรพชาอุปสมบทเป็นที่เรียบร้อยแล้วพึงกล่าวกับผู้ที่จะบวชว่า เธอจงตั้งใจเรียนตจปัญจกกรรมฐานอันเป็นอุบายสำหรับให้ภิกษุใหม่เกิดสมาธิได้เพื่อเป็นที่ตั้งของปัญญาต่อไปบอกทีละบทว่า 1) เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ โดยอนุโลม 2) ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม เพราะการพิจารณาเช่นนั้น เป็นเหตุให้ละความกำหนัดยินดีได้ ส่วนการบูรณาการการสอนตจปัญจกกรรมฐานของภิกษุผู้บวชใหม่ คือ ต้องพิจารณาผม พิจารณาขน พิจารณาเล็บพิจารณาฟัน พิจารณาหนัง โดยความเป็นของไม่งามปฏิกูล เป็นรังของโรค เมื่อภิกษุผู้บวชใหม่ปฏิบัติตามหลักตจปัญจกกรรมฐานหรือมูลกรรมฐานในเบื้องต้นก็จะเป็นทางสู่มรรค ผล และพระนิพพานในที่สุด โดยพระอุปัชฌาย์จะต้องพร่ำสอนว่า ตจปัญจกกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่เป็นมูล เป็นกรรมฐานที่เป็นรากเหง้าของกรรมฐานทั้งปวง เป็นกรรมฐานที่ระงับกามราคะได้ และเป็นกรรมฐานที่ทำราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้บวชใหม่ให้เบาบางลงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระประยูร รุ่งเรือง. (2565). บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาวกในพระสุตตันตปิฎก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1366-1375.

พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล. (2539). การบริหารวัด. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

พระอุปติสสเถระ(2541). คัมภีร์วิมุตติมรรค. แปลโดย พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต และคณะ). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศยาม.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2549). ธรรมอบรมจิต. กรุงเทพฯ: ก้อนเมฆแอนด์กันย์กรุ๊ป.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.