การพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

Main Article Content

อภิรัตน์ดา ทองแกมแก้ว
ชวนพิศ ชุมคง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) เพื่อประเมินการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษของนักเรียน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 84 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) แบบประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า


1. ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในระดับเหมาะสมมาก ด้านการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ครูดำเนินกิจกรรมได้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ส่วนใหญ่มีความเหมาะสมมากที่สุด ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนใช้สื่อที่เป็นปัจจุบันมีความเหมาะกับเนื้อหาที่สอน สนับสนุนให้นักเรียนมีส่วนร่วม มีการเสริมแรงให้กำลังใจนักเรียน การสรุปความรู้สอดคล้องกับจุดประสงค์ จึงส่งผลให้นักเรียนเกิดความตั้งใจใฝ่เรียนรู้ ด้านบุคลิกภาพของครูมีความเหมาะสมมากที่สุดต่อการจัดการเรียนรู้และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน


2. ผลการประเมินนักเรียน วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดีมากคะแนนเกินร้อยละ 80 และดีคะแนนเกินร้อยละ 70

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2550). มารู้จัก Competency กันเถอะ. กรุงเทพฯ: เอช.อาร์เซ็นเตอร์.

ปภาวี พิพัฒนลักษณ์. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นําของผู้บริหารโรงเรียนเรียนร่วมตามแนวคิดภาวะผู้นําที่ยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพรบูรณ์ จารีต. (2553). สมรรถนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การศึกษาดั่งเส้นทางแสวงหาทางจิตวิญญาณ. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2565). การพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สู่การสร้างสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

สมศักดิ์ บุญขำ, ปราศรัย ประวัติรุ่งเรือง และ ปกรณ์ ประจัญบาน. (2558). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร, 8(2), 43-57.

สัญชัย เกียรติทรงชัย. (2563). ความเป็นมาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. สืบค้นจาก http://shorturl.asia/l1Vst. 27 เมษายน.

Kyureqhyan, H. (2023). Exploring Teachers’ Learning Experiences and Core Components of the Professional Development Program Within a Pilot Reform Project in Armenia. Teacher Development, 27(5), 613-629.

Selvi, K. (2010). Teachers’ Competencies. Cultura: International Journal of Philosophy of Culture and Axiology, 7(1), 167-175.