ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์หลังสถานการณ์ โควิด-19 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Main Article Content

ศิรชญาน์ การะเวก
ศิริพร สัจจานันท์
ธงชัย เจตบุตร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ 3) ศึกษาปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีมีต่อพฤติกรรมการซื้อแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ หลังสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


          ผลการวิจัยที่สำคัญ: 1) ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ หลังสถานการณ์โควิด-19 ยกเว้น ด้านสาขาที่เลือกเรียน และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์หลังสถานการณ์โควิด-19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีความต่างกันนั้นส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ หลังสถานการณ์โควิด-19 ปัจจัยที่สำคัญในการประกอบการตัดสินใจซื้อแท็บเล็ตของนักศึกษา ได้แก่ ด้านสาขาที่เลือกเรียน ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7P) และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชฎารัฐ ขวัญนาค และ ศรายุทธ อินตะนัย. (2566). อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยี และการรับรู้คุณค่าของเว็บไซต์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อ ของผู้บริโภคในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับผู้บริโภค. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(2), 89-103.

ดวงใจ คงคาหลวง, พงษ์สันติ์ ตันหยง และ วัลลภา วิชะยะวงศ์. (2566). ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 308-326.

แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์. (2566). สืบค้น 20 มิถุนายน 2566, สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์.

พิชามญชุ์ เลิศวัฒนพรชัย, พงษ์สันติ์ ตันหยง และ ผ่องใส สินธุสกุล. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 141-156.

พีรวัส ปทุมุต์ตรังษี, จรูญ ชำนาญไพร และ เบญจฐา วัฒนกุล. (2566). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่น ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 49-60.

ฤทธิ์เจตน์ รินแก้วกาญจน์. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และปัจจัยด้านการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(1), 92-106.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2016. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566, จาก http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blogpost_11.html

วัสสิกา รุมาคม และ คณะ. (2565). การบริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 17-30.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สุกัญญา พยุงสิน. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2566 จาก http://202.28.120.18/ 2009/online/main_MK2/main.html.

สุทิพย์ ประทุม และ สรัญณี อุเส็นยาง. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่. วารสารลวะศรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 6(1), 1-18.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding Attitudes and Predicting Social Behavior. New Jersey: Prentice-Hall.

Azizah, F. D., Nur, A. N., and Putra, A. H. (2022). Impulsive Buying Behavior: Implementation Of IT On Technology Acceptance Model on E-Commerce Purchase Decisions. Golden Ratio of Marketing and Applied Psychology of Business, 2(1), 58-72.

Davis, F. (1985). A Technology Acceptance Model for Empirically Testing New End-User Information Systems: Theory and Results(Doctoral Dissertation). MIT Sloan School of Management Cambridge.

Feng, C. P., & Chuan, C. S. (2013). Enhancing Competitive Advantage of Hospitals Through Linguistics Evaluation on Customer Perceived Value. Journal of American Academy of Business, 5, 481-485.

Kotler & Keller. (2012). Marketing Management. (14th ed.). Pearson Education.

Lei, W., Teerapornlertratt, P., Phuvakeereevivat, A., & Kumboon, B. (2023). The Development of Value Co-creation of New Retail in Taian City, The People’s Republic of China. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 7(1), 1–12.

Mathieson, K., Peacock, E., & Chin, W. W. (2001). Extending the Technology Acceptance Model: The Influence of Perceived User Resources. ACM SIGMIS Database: the DATABASE for Advances in Information Systems, 32(3), 86-112.

McCarthy, E. J., &. Perreault, W. D. (1990). Basic Marketing. (10th ed). Illinois: Ridchard D. Irwin.

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.