บทบาทของวัดมหาธาตุวรวิหารในการส่งเสริม คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

พระครูปลัดอภินันท์ สุนทรภักดี
สมเกียรติ วันทะนะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อบทบาทของวัดมหาธาตุวรวิหารในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อบทบาทของวัดมหาธาตุวรวิหารในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน และ 3) เพื่อ) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาบทบาทของวัดมหาธาตุวรวิหารในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ เทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้มีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี ในพื้นที่เขต เทศบาลเมืองเพชรบุรี จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของ Pearson และเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจต่อบทบาทของวัดมหาธาตุวรวิหารในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรีอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 2) ปัจจัยด้านความปลอดภัยมั่นคง และปัจจัยด้านสวัสดิการทางสังคม มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อบทบาทของวัดมหาธาตุวรวิหาร 3) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยได้แก่ ด้านสุขภาพร่างกาย ควรเผยแพร่ความรู้เพื่อการดูแลสุขภาพตามหลักพุทธธรรมแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง  ด้านจิตใจ ควรจัดตั้งศูนย์อบรมวิปัสสนากรรมฐาน  ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ควรจัดกิจกรรมพุทธศิลป์บำบัดที่ช่วยให้มีความรู้สึกผ่อนคลายรื่นรมย์เกิดความสุขทางใจสำหรับประชาชน ควรเทศนาอบรมให้ประชาชนในชุมชนมีความรักใคร่สามัคคีกัน และด้านสิ่งแวดล้อม ควรจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. (2563). คู่มือการบริหารและการจัดการวัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองเพชรบุรี. (2560). รายงานประจำปี 2560. เพชรบุรี: เทศบาลเมืองเพชรบุรี.

คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน. (2561). ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของครัวเรือน. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.

นัสมล บุตรวิเศษ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

พระครูศิริโสธรคณารักษ์. (2565). บทบาทพระสงฆ์ต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิต. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(2), 624-635.

พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโตและคณะ. (2560). บทบาทวัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 735-751.

พระศุภชัย ปญฺญาวชิโร (เปลื้องกระโทก). (2562). บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฟื้น ดอกบัว. (2560). พระพุทธศาสนากับคนไทย. กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ์.

ฤทธิชัย ชาแสน. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สงวนศรี วิรัชชัย. (2562). จิตวิทยาสังคมเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศึกษาพร.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2563). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2561). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

WHO. (1996). Report of the International Conference on Primary Health Care. New York: N.P. Press.