การพัฒนาชุดนิทานผสานแนวคิดหมวกหกใบของเดอ โบโนเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ทางสังคมในเด็กปฐมวัย

Main Article Content

วริศรา มุกดาสนิท
ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร
ปัทมาวดี เล่ห์มงคล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดนิทานผสานแนวคิดหมวกหกใบของเดอ โบโนเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ทางสังคมในเด็กปฐมวัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แนวคิดความตระหนักรู้ทางสังคมร่วมกับแนวคิดหมวกหกใบของเดอ โบโนเป็นกรอบการวิจัย โดยการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาชุดนิทาน โดยขั้นตอนประกอบไปด้วย การวิจัยเอกสาร ออกแบบร่างชุดนิทาน ระยะที่ 2 การประเมินคุณภาพของชุดนิทาน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และ ครูปฐมวัยจำนวน 5 คน จาก 5 โรงเรียน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบประเมินชุดนิทาน มีประเด็นที่ศึกษาคือ 1) การจัดรูปเล่ม 2) เนื้อหา 3) การใช้ภาษา และ 4) คุณประโยชน์ที่จะได้รับ แบบสัมภาษณ์ครูปฐมวัยเกี่ยวกับการใช้ชุดนิทานมีประเด็นที่ศึกษาคือ 1) ความคิดเห็นต่อรูปแบบของชุดนิทาน 2) ความพึงพอใจของการนำชุดนิทานไปใช้ 3) การตอบสนองของเด็ก และ 4) พฤติกรรมด้านความตระหนักรู้ทางสังคมของเด็กหลังได้รับชุดนิทาน
          ผลการวิจัยพบว่า ชุดนิทานจำนวน 7 เล่มมีเนื้อหา สอดคล้องตามองค์ประกอบของความตระหนักรู้ทางสังคม และเสริมสร้างความตระหนักรู้ทางสังคมในเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี เด็กสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย มีอารมณ์ร่วมไปกับเนื้อเรื่อง และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามเป็นอย่างดี สามารถตอบคำถามที่มีความสอดคล้องกับความตระหนักรู้ทางสังคม ภายหลังจากได้รับสื่อ เด็กมีพฤติกรรมที่แสดงถึงความตระหนักรู้ทางสังคม ผ่านคำพูดและการกระทำอย่างเห็นได้ชัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกริก ยุ้นพันธ์. (2538). เอกสารคำสอนวิชา บร 620 การเล่านิทาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กุลธิดา กุลคง. (2555). ระบบการออกแบบหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2541. การเล่านิทาน. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 2(2), 10-19.

ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์. (2545). วรรณกรรมสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาการ.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2539). การเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่านและหนังสืออ่าน. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิฟเพรส.

มัลลิกา เจริญพจน์. (2546). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดหมวกคิด 6 ใบของ เดอ โบโน ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bandura, A., & Walters, R. H. (1977). Social learning theory (Vol. 1). New Jersey: Prentice Hall.

Burke, K. (2018). A grammar of motives. London, England: Forgotten Books.

CASEL. (2020). CASEL’S SEL Framework. Retrieved from https://casel.org/casel-sel-framework-11-2020/

Çer, E. (2016). Preparing Books for Children from Birth to Age Six: The Approach of Appropriateness for the Child. Journal of Education and Practice, 7(6), 78-99.

De Bono, E. (2000). Six Thinking Hats for School. London: Penguin Book.

Durlak, J. A., Weissberg, R. P., Dymnicki, A. B., Taylor, R. D., & Schellinger, K. B. (2011). The Impact of Enhancing Students’ Social and Emotional Learning: A Meta-Analysis of School-Based Universal Interventions. Child development, 82(1), 405-432.

Ju, H.-j., & Lee, S.-h. (2019). Mothers’ Perceptions of the Phenomenon of Bullying among Young Children in South Korea. Social Sciences, 8(1), 12.

Koth, C. W., Bradshaw, C. P., & Leaf, P. J. (2008). A Multilevel Study of Predictors of Student Perceptions of School Climate: The Effect of Classroom-Level Factors. Journal of Educational Psychology, 100(1), 96–104.

Kucirkova, N. (2019). How Could Children’s Storybooks Promote Empathy? A Conceptual Framework Based on Developmental Psychology and Literary Theory. Frontiers in Psychology, 10(121). https://doi.org/10.3389/fpsyg.2019.00121

Linder, R. (2021). Enhancing social awareness development through multicultural literature. Middle School Journal, 523), 35-43.

Ministry of Education Republic of Singapore. (2013). Social and Emotional Development Nurturing Early Learners. Retrieved from https://www.nel.moe.edu.sg/qql/slot/u143/ Resources/Downloadable/pdf

Morrell, E., & Morrell, J. (2012). Multicultural Readings of Multicultural Literature and The Promotion of Social Awareness. New England Reading Association Journal, 47(2), 10-16.