การพัฒนาตัวแบบพฤติกรรมการปรับตัวเชิงวัฒนธรรมองค์กรของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ในช่วงสถานการณ์โควิด 19

Main Article Content

ธีร์ดนัย กัปโก
อมรรัตน์ เตชะนอก
พระครูวินัยธรวรวุฒิ เตชธมฺโม (เฮียงเหี่ย)

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษา 2)เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา 3)เพื่อพัฒนาพฤติกรรม และ4) เพื่อสร้างตัวแบบการพัฒนาพฤติกรรม รูปแบบการวิจัยเป็นรูปแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา ตัวแบบพฤติกรรมและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร การปรับตัว วัฒนธรรมองค์กร โควิด 19 เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี โท เอก จำนวน 450 รูป/คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ 15 รูป/คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาความคิดเห็นโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( =4.14,S.D.=.4.17)

  2. 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ = 31.304, df= 18, P-value = 0.0665, CFI = 0.998,TLI = 0.997, SRMR = 0.005, RMSEA = 0.0240  /df =1.739,<2

  3. 3. ผลการพัฒนา คือ ส่งเสริมและตื่นตัวในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีแผนยุทธศาสตร์และกระบวนการทำงาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีความเชี่ยวชาญ ทำงานเป็นทีม มีความเสมอ บูรณาการหลักวิถีพุทธ สร้างเครือข่าย โดยการนำของผู้นำองค์กร

  4. 4. ตัวแบบ คือ 1) อัตลักษณ์องค์กร 2) เป้าหมายขององค์กร สู่การพัฒนาระบบการบริหารงาน คือ 1 มีภาวะผู้นำต่อการเปลี่ยนแปลง 2 วิเคราะห์ ประเมิน ปรับแก้ไข 3 มีเมตตา กรุณา และการมีส่วนร่วม 4 สร้างทัศนคติเชิงบวก 5 บูรณาการที่หลากหลาย 6 กฎกติกาที่ชัดเจน 3) สู่ระบบปฏิบัติการทำงาน คือ 1 การถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ 2 คิดออกแบบเชิงระบบ 3 พัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง 4 สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ 5เรียนรู้ระบบสารสนเทศที่ทันสมัย

           องค์ความรู้ คือ ให้ความสำคัญอัตลักษณ์องค์กร และเป้าหมายที่องค์กรได้วางไว้ในการขับเคลื่อน เกิดจากระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ สู่การสร้างระบบปฏิบัติการทำงานที่มีประสิทธิผลให้กับองค์กร


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). อว.ประกาศมาตรการป้องกัน "โควิด-19" สั่งมหาวิทยาลัยเน้นสอนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/2005636.

ธิติสุดา ชีโพธิ์, พิยะรัตน์ นันทะ และ เอกพล สิริชัยนันท์. (2560). การศึกษาการรับรู้อัตลักษณ์องค์กร เพื่อแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน : กรณีศึกษา ห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่า สาขาอัษฎางค์ จังหวัดนครราชสีมา.วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 16(2), 21-30.

บวร ประพฤติดี. (2558). วัฒนธรรมองค์กรกับความสำเร็จในการบริหารเปรียบเทียบสองวัฒนธรรมองค์กร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(2), 1 – 13.

ประภาศรี ดำสะอาด. (2550). วัฒนธรรมองค์กรของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 26(1-2 ),144 -156.

รพีพร มณีวรรณ. (2564). สรุปสถิตินิสิตวิทยาเขตขอนแก่น. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น: ขอนแก่น.

ลาวัลย์ เดชวาทกุล. (2557). การศึกษาวิเคราะห์คุณวิทยาที่ปรากฏในบทการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร เขตการศึกษาที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 1(1) 45 – 58.

วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2558). อิทธิพลภาวะผู้นำที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรมองค์กรและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์และบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 4 (1),1- 26.

สมพร สังวาระ และวีรวัฒน์ อุทัยรัตน์. (2562). กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมภาพลักษณะวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยม. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47 (2), 389 -409.

สำนักงานวิทยาเขตขอนแก่น. (2564). เอกสารวิเคราะห์ภาระงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. ขอนแก่น : อัดสำเนา.

Bowditch, J. & Buono, J. (2005). A Primer on Organizational Behavior. (6th ed). New Jersey: John Wiley & Son.

Schein, E. H. (1992). Organizational Culture and Leadership. (2nd ed). San Francisco: Jossey – Bass.