ปัจจัยความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่

Main Article Content

วสุพัชร์ วัฒนดิษฐจันทร์
สวรรยา ธรรมอภิพล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือจังหวัดกระบี่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีจัดการจัดสนทนากลุ่มจากผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชนบ้านถ้ำเสือ จำนวน 14 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากนั้นจะนำเสนอผลการศึกษาการดำเนินการของวิสาหกิจชุมชนบ้านถ้ำเสือด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินการของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือให้ความสำคัญกับ 1) การวางแผนที่มีการวางแผนอย่างเป็นรูปธรรมมีการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว 2) การจัดองค์การหรือหน่วยงานมีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน 3) การบังคับบัญชาหรือสั่งการเป็นการสั่งการโดยตรงไม่ซับซ้อนหรือยุ่งยาก 4) การประสานงานภายในกลุ่มเป็นไปตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบ และ 5) การควบคุมให้ความสำคัญกับการกำหนดตารางเวลาในการดำเนินกิจกรรม การจัดสรรดูแลด้านงบประมาณอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม  ปัจจัยความสำเร็จ พบว่า 1) ด้านโครงสร้างการดำเนินงานที่ไม่ซับซ้อน โดยแบ่งโครงสร้าง 3 ส่วน คือ ฝ่ายธุรกิจท่องเที่ยว  ฝ่ายธุรกิจสัมมาชีพและผลิตภัณฑ์ชุมชน และ ฝ่ายกองทุนและสวัสดิการ ซึ่งแต่ละฝ่ายสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ด้านกลยุทธ์ มีการกำหนดตำแหน่งทางการตลาด“เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและนันทนาการ” ซึ่งให้ความสำคัญกับ “ทุนธรรมชาติ”  3) ด้านระบบการบริหารจัดการ มีการแบ่งกลุ่มกิจกรรมท่องเที่ยวเป็น 5 โซนการเรียนรู้ 4) ด้านลักษณะแบบแผนหรือพฤติกรรมในการบริหารของผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้มีมีวิสัยทัศน์  เสียสละ และมีความโปร่งใส 5) บุคลากรในองค์กรมีการจัดวางบุคลากรได้เหมาะสมกับความสามารถ 6) สมาชิกกลุ่มเป็นผู้มีทักษะความรู้และความสามารถองค์กร และ 7) ค่านิยมร่วมภายในองค์กรที่สมาชิกมีความภูมิใจในวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ทุนทางธรรมชาติ และนำมาใช้เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญญา คงเพชร. (2563). ความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษา ตลาดน้ำท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จิดาภา เร่งมีศรีสุข, ชนิดาภา กระแจะจันทร์, , นันทยา คงประพันธ์ และ นภัทร์ แก้วนาค. (2566). รูปแบบการสร้างเสริมระบบการบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชน แบบมีส่วนร่วมวิถีปกติใหม่ ของชุมชนลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา.วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 58-70.

ธง คำเกิด, อุทุมพร เรืองฤทธิ์, เพียงฤทัย เสงี่ยมศิลป์, จิตราภรณ์ เถรวัตร และชิดชนก มากจันทร์. (2563). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานรากวิถีชีวิตชุมชนอย่างยั่งยืน ของตำบลต้นตาล อำเภอต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

นิมิต ซุ้นสั้น, พรชัย ศักดิ์ศิริโสภณ, สุภัทรา สังข์ทอง และ ห้าวหาญ ทวีแสง. (2564). การรับรู้ผลกระทบของการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านบางโรง จังหวัดภูเก็ต. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 106-127.

พีระศักดิ์ วรฉัตร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการบริหารวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 10(2), 285-310.

ลักขณา อินทร์บึง, อารดา ชัยเสนา และ รัชดา ภักดียิ่ง. (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดขอนแก่น. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(2), 1-12.

วนัสรา จันทร์กมล. (2563). เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานวิสาหกิจเพื่อสังคม ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิริวัลลิ์ พฤกษาอุดมชัย. (2559). ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านแฝก จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรรถพล ศิริเวชพันธ์. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานความปกติใหม่ (New Normal) เพื่อรองรับ สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ชุมชนหนองฮะ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 58-75.

Buhalis, D. (2000) Marketing the Competitive Destination of the Future. Tourism Management, 21, 97-116.

Fei, L. Y. (2023). A Preliminary Intellectual Scope of Research on Celebrity Endorsement from Bibliometric Study. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 7(1), 31–38.

Urwick, L. (1933). Organization as a Technical Problem. L. Gulick & L. Urwick (Eds.), Papers on the Science of Administration (pp. 49–88). New York: Institute of Public Administration.