พฤติกรรมการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของผู้สูงอายุ ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 13 คน โดยใช้เครื่องมือคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้วิธีการตรวจสอบความถูกต้องแบบสามเส้าด้านวิธีการ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยการทำ Content Analysis จำแนกข้อมูลตามประเด็นวัตถุประสงค์ก่อนนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้บริการผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ประเภท ATM มากที่สุด สาเหตุของการใช้บริการมาจาก 1) การเห็นประโยชน์ของการใช้บริการ 2) ความง่ายในการใช้บริการ 3) ประสบการณ์ความเชื่อมั่นในการใช้บริการ 4) การแนะนำบอกต่อในการใช้บริการ ปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ 1) รูปลักษณ์หน้าจอแสดงผลมีขนาดเล็ก ความสว่างของหน้าจอไม่เพียงพอ เมนูตัวเลือกที่มีมาก รวมถึงขนาดของข้อความที่เล็ก 2) พื้นที่การให้บริการไม่เหมาะสมอยู่ในที่ลับตาคน แสงสว่างไม่เพียงพอ 3) การตอบสนองระบบสัญญาณขัดข้อง ในส่วนของผู้สูงอายุที่ไม่ใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์มาจาก1) ความวิตกกังวลด้านความปลอดภัย 2) ศักยภาพส่วนบุคคล ได้แก่ ปัญหาด้านการมองเห็น ขาดความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยี อ่านหนังสือไม่ออก และขาดความพร้อมของอุปกรณ์ที่จะสามาถเข้าใช้บริการ การเกิดภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้สูงอายุมองว่าไม่จำเป็น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกกาญจน์ เสน่ห์นมะหุต. (2562). การวิเคราะห์รูปแบบนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อพฤติกรรมการใช้ธนาคารอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้สูงอายุ. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 9(17), 17-27.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (31 ธันวาคม 2565). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ10 มกราคม 2566, จากhttps://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1766.
จักรวาล อินทะปัญโญ และ พนมสิทธิ์ สอนประจักษ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโมบายแบงก์กิงแอปพลิเคชันของกลุ่มผู้ใช้งานที่
มีอายุตั้งแต่ 50-70 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1), 83-98.
จิรโรจน์ จิระเจริญวงศ์ษา และ อจิรภาส์ เพียรขุดทต. (2564). ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบสวัสดิการผู้สูงอายุของรัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(3), 94-102.
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ, (2558). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปิยพงศ์ ตั้งจินตนาการ และพิชญ์สินี โพธิจิตติ. (4 กรกฎาคม 2559). Mobile banking การธนาคารในยุค Digital. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2016/07/2IN_hotissue_Digital_bank_detail.pdf.
ฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2560). พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์
วิชาดา ไม้เงินงาม. (2564). พฤติกรรมและการยอมรับเทคโนโลยีการใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการกลุ่มเจเนอร์เรชั่นเอ็กซ์ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์, 10(2), 63-69.
สุภาวดี สุวรรณเทน และคณะ. (2562). สภาพปัญหาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(74), 235-245.
สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (กรฎาคม 2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/529961.
Ajzen, I. (1985). From Intention to Action: A Theory of Planned Behavior. In Action Control: From Cognition to Behavior. Berlin: Springer-Verlag.
Davis. F. D., Bagozzi, R.P. And Warshaw, P.R. (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, 35(8), 982-1003.