การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบ

Main Article Content

อรณี ขวัญตา
มีชัย เอี่ยมจินดา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ของครูผู้สอนเกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบ หลังสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสูงกว่าก่อนสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการปฏิบัติการสอนของครูเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบ 3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบกับเกณฑ์ที่กำหนด 4) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม จำนวน 3 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 ห้องเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รวม 110 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบ ของครูผู้สอนหลังสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสูงกว่าก่อนสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ความสามารถในการปฏิบัติการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบ ของครูผู้สอนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 3) ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 4) ความคิดเห็นต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบของครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรุงจิต จำปานิล. (2563). การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์โดยใช้กระบวนการจัดการรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(1), 111- 125.

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2560). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน: แนวคิดและแนวทางสู่ความสำเร็จ. วารสารครุศาสตร์, 45(1), 299-318.

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2545). การสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ธีระศักดิ์ ธนากูลกวีพงศ์, ญานิน กองทิพย์, สุกัญญา หะยีสา และ เอนก จันทรจรูญ. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนทางเรขาคณิตที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 811-830.

พรชัย เจดามาน, ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์, โชคชัย ยืนยง, ไพรฑูรย์ พิมดี, อัคพงศ์ สุขมาตย์ และ เจริญ สุขทรัพย์. (2566). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืนของกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 168-186.

นิภาพร พรมทา. (2564). การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค KWL plus. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(1), 13-24.

ภิรดา บุญศิริชัย. (2553). การใช้กลวิธี คิว เอ อาร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน ภาษาอังกฤษและเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2557). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัฐพล ศรีบูรณะพิทักษ์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม(รายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการ). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิจารณ์ พานิช. (2559). บันเทิงชีวิตครู สู่ชุมชนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

สุภาวดี ปกครอง และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2561). การพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน, 32(101), 51 -67.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 25620 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟริก.

อนงค์ รุ่งแจ้ง และคณะ. (2553). การอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพลส.

เอมอร เนียมน้อย.(2551).พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ.กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Green, S. (2016,). Two for One: Using QAR to Increase Reading Comprehension and Improve Test Scores. The Reading Teacher, 70(1), 103-109.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75–86.