การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

รติมา พ่วงพี
มีชัย เอี่ยมจินดา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบความรู้ของครูผู้สอนก่อนและหลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) เปรียบเทียบความสามารถของครูผู้สอนในการปฏิบัติการสอนกับเกณฑ์ที่กำหนด 3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ที่กำหนด 5) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามพรานวิทยา ได้มาด้วยความสมัครใจ จำนวน 3 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามพรานวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ การทดสอบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ของครูผู้สอนหลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สูงกว่าก่อนสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ความสามารถของครูผู้สอนในการปฏิบัติการสอนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 3) ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 5) ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด


ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสามารถพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนได้ เนื่องจากเป็นการฝึกให้นักเรียนคิดอย่างเป็นระบบ และเพิ่มทักษะการค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขวัญจิรา จำปา, สุวดี อุปปินใจ, ไพรภ รัตนชูวงศ์, พูนชัย ยาวิราช. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพของชุมชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 430-447.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2552). การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อสรุปสาระสำคัญ. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ณิชาพัฒณ์ ไชยเสนบดินทร์. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(2), 91-105.

ทิพย์วรรณ สุพิเพชร. (2566). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อการศึกษาในอนาคต. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 471-480.

ธีระชัย รัตนรังษี. (2562). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในการพัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 15(1), 103-127.

บุตรี ถิ่นกาญจน์. (2552). บรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการพัฒนาไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา หน่วยงานผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(1), 25-38.

เบญจวรรณ อ่วมมณี. (2549). การพัฒนาผลการเรียนรู้ และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเรื่องการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 25(1), 47-60.

ภาณุ พลโสมูล และ ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(1), 338-360.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2549). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL. วารสารวิชาการ, 5(2), 42-43.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2547). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. (2565). การพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี สำหรับครูคณิตศาสตร์ที่จัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1601-1620.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 12(2), 123-134.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2555). การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารราชพฤกษ์, 13(3), 57-63.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สกศ.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.