ทัศนคติที่มีต่อการให้ทานของพุทธศาสนิกชนวัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระครูโสภณขันติคุณ สุกิจ ปภสฺสรจิตฺโต

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการให้ทานของพุทธศาสนิกชนวัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติที่มีต่อการให้ทานของพุทธศา สนิกชนวัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) จำแนกตามตัวแปรอิสระ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้ทานของพุทธศาสนิกชนวัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร งานวิจัยเป็นเชิงปริมาณ และเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 196 คน โดยการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน


ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติที่มีต่อการให้ทานของพุทธศาสนิกชนวัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร พุทธศาสนิกชนที่มาให้ทานที่วัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา รองลงมา คือ ความศรัทธาชื่อเสียงของวัด และอานิสงส์ของการให้ทาน ตามลำดับ


ผลการเปรียบเทียบรูปแบบทัศนคติที่มีต่อการให้ทานของพุทธศาสนิกชนวัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และความถี่ในการเข้าวัด มีทัศนคติต่อการให้ทาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พุทธศาสนิกชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และความถี่ในการเข้าวัดต่างกัน มีทัศนคติต่อการให้ทาน ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คะนึงนิตย์ จันทบุตร. (2531). สถานะและบทบาทของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

คูณ โทขันธ์. (2545). พุทธศาสนากับสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

จันทิมา พูลทรัพย์. (2558). ปัจจัยการตัดสินใจในการทำบุญของพุทธศาสนิกชน กรณีศึกษาวัดจำปา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ปฐมวรรณ ขวัญแก้ว, จริยา คำธร, พรรณวดี ขําจริง และ ลลิดา ภคเมธา. (2560). ศึกษาเรื่องแรงจูงใจในการเข้าวัดของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 3(2), 246-253.

พระครูธรรมธรสุนทร เพ็งอาจ. (2557). ศึกษาทัศนคติต่อการถวายสังฆทานของชาวพุทธกลุ่มวัยรุ่น กรณีศึกษาวัดจรเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิญาณวโรรส. (2539). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตสะพานสูง. (2565). ข้อมูลทั่วไป-สำนักงานเขตสะพานสูง-หน่วยงานกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565, จาก https://webportal.bangkok.go.th/saphan/page/sub/

สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร. (2565). ระบบบริหารจัดการข้อมูลมุสลิม. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565, จาก https://masjid.islamicbangkok.or.th

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.