การรวบรวมและวิเคราะห์ตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยการนอนหลับ ในตำราการแพทย์แผนไทย

Main Article Content

กรรณิกา นาทัน
วนิษา ปันฟ้า
จักรกฤษณ์ คณารีย์
อัมพร นาคพะเนา
ทิพรัตน์ อินเสถียน
วรรณพร สุริยะคุปต์

บทคัดย่อ

อาการนอนไม่หลับสามารถพบได้ทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งอาการนอนไม่หลับจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ในทางการแพทย์แผนไทยมีองค์ความรู้ในการรักษาอาการนอนไม่หลับซึ่งปรากฏตำรับยาที่ใช้ในการรักษาอาการนอนไม่หลับในคัมภีร์/ตำราทางการแพทย์แผนไทยหลายเล่ม แต่เนื่องจากองค์ความรู้เหล่านั้นเป็นการรวบรวมจากประสบการณ์การลองผิดลองถูกและสืบทอดเป็นภูมิปัญญาต่อกันมาของแพทย์ไทยในอดีตจึงขาดการรวบรวมอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการศึกษานี้จึงสนใจที่จะรวบรวมและวิเคราะห์ตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยการนอนหลับในตำราการแพทย์แผนไทย โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มจากการศึกษาและรวบรวมตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยการนอนหลับจากตำราการแพทย์แผนไทยที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนและสอบขึ้นทะเบียนวิชาชีพการแพทย์แผนไทย จากนั้นนำมาจัดกลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยการนอนหลับ


            ผลการวิจัยพบว่า การรวบรวมตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยการนอนหลับที่ปรากฏในตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 1-3 ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ของพระยาพิศณุประสาทเวช เล่ม 1-2 และตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไปของกองการประกอบโรคศิลปะ จำนวน 6 เล่ม พบตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยการนอนหลับจำนวน 54 รายการ เมื่อตรวจสอบความซ้ำซ้อนของตำรับยาแล้วคงเหลือ 38 ตำรับ จากนั้นนำตำรับยามาจัดกลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลตามสรรพคุณของตำรับยา สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยการนอนหลับโดยตรง และ 2) ตำรับยาที่มีสรรพคุณรักษาโรค/อาการอื่นๆ ร่วมกับสรรพคุณช่วยการนอนหลับ


จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการจัดระบบองค์ความรู้ดั้งเดิมให้ร่วมสมัยเป็นฐานสำคัญในการนำมาพัฒนาต่อยอดกระบวนการรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย ทั้งยังง่ายต่อการเลือกใช้ประโยชน์ของตำรับยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2551). แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมศิลปากร. (2555). ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 1-3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

จารุวรรณ จันทร์อินทร์. (2558). การศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับนโยบายการเข้าถึงบริการสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. (วิทยานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ชัยนรินทร์ เรือนเจริญ. (2542). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ 5 ตามพุทธปรัชญากับสาเหตุการเจ็บป่วยของการแพทย์แผนไทย. (การศึกษาอิสระการแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ดาวชมพู นาคะวิโร. (2560). สาเหตุการนอนไม่หลับของผู้สูงวัย. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2566, จาก https://www. rama.mahidol.ac.th

ธิติมา ณรงค์ศักดิ์ม ฐิติมา สงวนวิชัยกุล และวรพงศ์ ตรีสิทธิวนิช. (2563). การนอนหลับและสุขอนามัยการนอนหลับ.วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 14(2), 69-85.

นภาพร ณ อุโมงค์, กฤษดา ศรีหมตรี, จินตนา นันตา, และ ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์. (2564). การพัฒนาตำรับยาไทยเพื่อการรักษาอาการนอนไม่หลับในกลุ่มปัจฉิมวัย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ประกอบ ผู้วิบูย์สุข, พิมลวรรณ ทัพยุทธพิจารณ์ และ ธริส หิญชีระนันท์. (2543). การศึกษาฤทธิ์ทำให้ง่วงหลับในคนของยาสมุนไพรแปรรูปสกัดจากใบขี้เหล็ก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 45(3), 251-259.

พระยาพิศณุประสาทเวช. (2450). แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศุภการจำรูญ.

รสริน ใจเย็น, ศุภะลักษณ์ ฟักคํา และ ยงยุทธ วัชรดุลย์. (2565). ผลของตํารับยาอายุวัฒนะต่อคุณภาพการนอนในผู้สูงอายุที่มีภาวะนอนไม่หลับ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 5(2), 72-84.

วรรณพร สุริยะคุปต์, ยิ่งยง เทาประเสริฐ, กันยานุช เทาประเสริฐ และ ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์. (2565). การศึกษาพัฒนาการของรูปแบบโรงพยาบาลสาธิตการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 63-78.

สิทธิศักดิ์ กองมา. (2558). การศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับนโยบายการลดค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุวรรณี หวังมี. (2562). การศึกษาความเป็นมาของภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพของชาวสยาม. (การศึกษาอิสระการแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อุบล มณีกุล และ กมลภัค สำราญจิตร์ (มปป.). ตำรายาแผนโบราณทั่วไป : สาขาเภสัชกรรม. นนทบุรี : กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.