วิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอัฏฐสตสูตร

Main Article Content

พระครูสุภัทรธรรมสาร ศุภโชค พุ่มเอี่ยม
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมสำคัญในอัฏฐสตสูตร 2) เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอัฏฐสตสูตร การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก และคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุง แก้ไข สรุปผลการวิจัยในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า


1) เนื้อหาและหลักธรรมสำคัญในอัฏฐสตสูตร คือ คำสอนเรื่องเวทนา คือ ความรู้สึก พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า จิตตั้งมั่น และสติสัมปชัญญะจึงสามารถรู้ชัดเวทนา นิพพานเป็นที่ดับและเป็นทางให้ถึงการดับเวทนา เพราะดับเวทนาภิกษุจึงหมดความหิว         


2) วิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอัฏฐสตสูตร พบว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนาโดยการนำเอาเวทนาที่กำลังเกิดขึ้นมาเป็นอารมณ์โดยการใช้ความเพียร ความรู้ตัวและสติเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติ โดยทำความเข้าใจเรื่องเวทนาอย่างถูกต้องและจากนั้นให้กำหนดรู้เวทนาคือความรู้สึกที่เป็นสุข ทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งที่เป็นทางร่างกายและทางจิตใจ ทั้งหยาบและละเอียด ที่เกิดขึ้นทุกขณะว่าตกอยู่ในไตรลักษณ์คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา จนจิตเข้าสู่วิปัสสนาญาณ มรรคผล นิพพานในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระประยูร รุ่งเรือง. (2565). บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาวกในพระสุตตันตปิฎก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1366-1375.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระพุทธโฆสเถระ. (2551). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

พระอำพัน นิลใน และ ธานี สุวรรณประทีป. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาในวิตถตธนสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 538-545.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2560). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 49). กรุงเทพฯ:สหธรรมิก.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2535). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

อุดมชัย ปานาพุต, ชาตรี สุขสบาย , สงคราม จันทร์ทาคีรี, วีรพงศ์ พิชัยเสนาณรงค์ และ พระมหาณรงค์ราช ครองเชื้อ. (2566). ความเป็นบัณฑิตตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 759-768.

Chanthathong, S. (2021). The Significance of the Right View (Sammaditthi) in Theravada Buddhism. Journal of International Buddhist Studies, 12(1), 61-70.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.