กุศโลบายที่มีผลต่อการรักษาศีลของพุทธศาสนิกชนในวัดสีสุก กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากุศโลบายต่อการรักษาศีลในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการรักษาศีลของพุทธศาสนิกชนพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษากุศโลบายที่มีผลต่อการรักษาศีลของพุทธศาสนิกชนในวัดสีสุก กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ พุทธศาสนิกชนผู้รักษาอุโบสถศีลที่วัดสีสุก แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน ผลการวิจัย พบว่า กุศโลบาย คือ อุบายหรือวิธีการที่แยบคาย เป็นการสื่อสารเชิงสัญญะเพื่อนำไปสู่ความรู้และการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลคือบรรลุเป้าหมาย กุศโลบายมีอยู่ในทุกศาสตร์และทุกมิติของชีวิต การรักษาศีลของพุทธศาสนิกชนของวัดสีสุก มีแรงจูงใจและเป้าหมายคือ เพื่อประโยชน์ในภพนี้เป็นหลักคือ ให้ตนเองและครอบครัวมีความสุข เจริญรุ่งเรือง เพื่อการรักษากาย วาจาให้สงบ และเพื่อบรรเทากิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ให้เบาบางลง เพื่อให้ปราศจากภัยอันตรายต่าง ๆ เช่นการถูกเบียดเบียน เป็นต้น และการมารักษาศีลที่วัดเป็นการพักผ่อนร่างกายและจิตใจ เมื่อร่างกายและจิตใจได้รับการชำระให้บริสุทธิ์ด้วยศีลแล้วจะเป็นพื้นฐานให้ผู้รักษาศีลสามารถใช้เป็นบาทฐานในการพัฒนาให้จิตเป็นสมาธิและปัญญาในระดับสูงขึ้นไป กุศโลบายที่มีผลต่อการรักษาศีลของพุทธศาสนิกชนในวัดสีสุกพบว่า ได้มีการปลูกฝังมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ มีรูปแบบยึดถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องทันกับยุคสมัย ด้านการประกอบศาสนพิธี พุทธศาสนิกชนวัดสีสุกเริ่มด้วยการทำตักบาตร ให้ทาน บำเพ็ญบุญ สมาทานรักษาศีลก่อนทั้งศีล 5 หรืออุโบสถศีลในวันพระ ฟังธรรม และฝึกเจริญสมาธิภาวนาซึ่งนำโดยพระสงฆ์ของวัดสีสุก พระสงฆ์จะคอยแนะนำและให้ความช่วยเหลือชุมชน ร่วมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน จนทำให้พุทธศาสนิกชนของวัดสีสุกมีความผูกพันมาบำเพ็ญบุญกับทางวัดเพื่อพัฒนาจิตให้บริสุทธิ์ บำเพ็ญบุญกุศลและปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา นาคพันธ์. (2566). ประชาชนที่มาทำบุญวัดสีสุก กรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์, 6 มกราคม.
ถาวร ปานเพ็ชร์. (2566). ประชาชนที่มาทำบุญวัดสีสุก กรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์, 8 มกราคม.
ประคอง นิมมาเหมินห์. (2551). หนังสือนิทานพื้นบ้านศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 35) กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมคิด แดงแสงส่ง. (2566). ประชาชนที่มาทำบุญวัดสีสุก กรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์, 6 กราคม.
สมบัติ คงพารา. (2566). ประชาชนที่มาทำบุญวัดสีสุก กรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์, 9 มกราคม.
สมภพ แดงแสงส่ง. (2566). ประชาชนที่มาทำบุญวัดสีสุก กรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์, 6 มกราคม.
สุวิทย์ นาคพันธ์. (2566). ประชาชนที่มาทำบุญวัดสีสุก กรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์, 6 มกราคม.
ไสว สีเหลือง. (2566). ประชาชนที่มาทำบุญวัดสีสุก กรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์, 10 มกราคม.
เอื้อมพร ทิพย์เดช. (2561). กุศโลบายมายาคติในนิทานพื้นบ้านล้านนา. พิฆเนศวร์สาร, 14(1), 85-101.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.
Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.