การเสริมสร้างสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักวิปัสสนาภาวนา : กรณีศึกษาชุมชนวัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

พระครูสิริพุทธิศาสตร์ นพรักษ์ นาเมือง
ธานี สุวรรณประทีป
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสุขภาพปัจจุบันของผู้สูงอายุ 2) เสริมสร้างสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักวิปัสสนาภาวนา และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การประเมินสุขภาพจิตระหว่างก่อน-หลังการเสริมสร้างสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักวิปัสสนาภาวนา วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองภายใต้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลสำคัญจากผู้สมัครใจและผ่านการคัดเลือกเจาะจง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 2) แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ 3) การสนทนากลุ่ม การสอบอารมณ์กัมมัฏฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาแบบอุปนัยวิธี การทดสอบค่า t-test dependent และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยในภาพรวม พบว่า


1) ผลการคัดกรองสุขภาพปัจจุบันของผู้สูงอายุ มีความเป็นปกติเฉลี่ยร้อยละ 90.30


2) ผลการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักวิปัสสนาภาวนา ผลการสนทนากลุ่ม พบลดความฟุ้งซ่านในอารมณ์ อยู่ร่วมกับสังคมแบบพหุมิติได้ และมีความสัมพันธ์ระหว่าง กาย เวทนา จิตและธรรมแบบสมดุล ผลการสอบอารมณ์ พบว่ามีสมาธิมากขึ้น มีสติการกำหนดรู้ได้ทันต่อสภาวะที่เกิดขึ้น รู้เท่าทันผัสสะได้ ภาวนา นั่ง-เดินได้ถึงหนึ่งชั่วโมง จิตใจแจ่มใสและเกิดสภาวะปีติสุข  


3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การประเมินสุขภาพของจิตระหว่างก่อน-หลังการ เข้าร่วมกิจกรรม มีผลสัมฤทธิ์หลังการเข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2566). แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ฉบับสั้น. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https:// dmh.go.th/test/thaihapnew/thi15/thi15.asp

กุลยา ตันติวาอาชีวะ. (2560). คู่มือผู้สูงอายุสุขภาพสูงวัย ดูแลได้ด้วยตัวเอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เพชรประกาย.

ชำมะนาฏแสนยากร ช่วยกันจักร์. (2564). ผลของกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการแพทย์แผนไทย เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวคิดพุทธจิตวิทยา. วารสารพุทธจิตวิทยา, 6(2), 116-124.

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). บทนำสู่พุทธธรรม : ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระมหาวีรธิษณ์ อินทะโพธิ์ และ ธานี สุวรรณประทีป. (2565). ความปรารถนาของมนุษย์: บทวิเคราะห์ในมิติพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(1), 29-38.

พระสุริยา ไชยประเสริฐ และ ภาสกร เรืองรอง. (2566). การพัฒนารูปแบบสื่อจักรวาลนฤมิต ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาด้วยการใช้เทคนิคการเล่าเรื่องผ่านสื่อสังคม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 1067-1077.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ.2559. นครปฐม : พริ้นเทอรี่จำกัด 999.

โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สุนิสา ค้าขึ้น, หฤทัย กงมหา, วิจิตร แผ่นทอง และ ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์. (2563). ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ, วารสารวิจัย สุขภาพและการพยาบาล, 36(3), 150-163.

อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์ และ พัชรินทร์ รุจิรานุกูล. (2564). สุขภาพจิตผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 8(2), 133-144.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.