การมีส่วนร่วมของครูในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1

Main Article Content

วิสุดา แคนลาด
พาที เกศธนากร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของครู 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 329 คน ใช้วิธีคัดเลือกโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า


 1. การมีส่วนร่วมของครูในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก


 2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษาโดยภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผลการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ พบว่า ระหว่างสถานศึกษาขนาดเล็กกับสถานศึกษาขนาดกลาง และสถานศึกษาขนาดเล็กกับสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ เป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษา ได้นำผลการวิจัยไปพัฒนาส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

กิติมา ปรีดีดิลก. (2545). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์

ขวัญจิรา จำปา, สุวดี อุปปินใจ, ไพรภ รัตนชูวงศ์, พูนชัย ยาวิราช. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพของชุมชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 430-447.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา .(พิมพครั้งที่ 2). นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.

จารุวรรณ รากเงิน, สุเทพ เมยไธสง และ กุศล ศรีสารคาม. (2560). การมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 174-186.

จิตรา แก้วมะ, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ และ รัชฏาพร งอยภูธร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงาน วิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 9(35), 234-244.

จุฬาพร พลรักษ์, นิราศ จันทรจิตร และ พิจิตรา ธงพานิช. (2566). รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เสริมสร้างความสามารถการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 865-884.

ชูชาติ พ่วงสมจิตต์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัสนี วงศ์ยืน. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์

ทิพย์วรรณ สุพิเพชร. (2566). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อการศึกษาในอนาคต. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 471-480.

ปรียานุช ธะนะฉัน, นิพนธ์ วรรณเวช และ สาโรจน์ เผ่าวงศากุล. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 1-12.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. (2564ก). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. หนองบัวลำภู: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2547). มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

เหมภัส เหลาแหลม และ กัลยรัตน์ หล่อมณีนพรัตน์. (2565). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 44-57.

อรรถพล ปานอ่วม, นันทพงศ์ หมิแหละหมัน, วริศนันท์ เดชปานประสงค์ และ กรกนก วิเศษสุวรรณ. (2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่ 30 สังกัดสำนักการศึกษา สํานักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(1), 142-155.

Carter, R., & McCarthy, M. (2006). Cambridge Grammar of English: A Comprehensive Guide. Cambridge: Cambridge University Press.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.