วิเคราะห์การเจริญวิปัสสนาภาวนาในอุปนิสสูตร

Main Article Content

พระสมศักดิ์ แสงสว่าง
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมสำคัญในอุปนิสสูตร 2) ศึกษาวิเคราะห์การเจริญวิปัสสนาภาวนาในอุปนิสสูตร การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตด้านการศึกษาเนื้อหาหลักธรรมสำคัญในอุปนิสสูตร การศึกษาวิเคราะห์การเจริญวิปัสสนาภาวนาในอุปนิสสูตร ซึ่งผู้วิจัยมีความประสงค์จะศึกษาค้นคว้าในรายละเอียดต่างๆ ที่มีปรากฏอยูในพระไตรปีฏก อรรถกถา และฏีกา ปรับปรุง แก้ไข สรุปผลการวิจัยในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า หลักธรรมที่สำคัญ ได้แก่ (1) ขันธ์ 5 (2) ปฏิจจสมุปบาท 12


1) อุปนิสสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยธรรมที่อาศัยกัน เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป คือ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จึงมี และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่ความดับทุกข์


2) การเจริญวิปัสสนาภาวนาในอุปนิสสูตร โดยมีขันธ์ 5 และปฏิจจสมุปบาท 12 เป็นอารมณ์เป็นภูมิของวิปัสสนา เพราะเหตุที่ในธรรมทั้งหลายเป็นภูมิแห่งปัญญา เป็นการกำหนดรู้สภวธรรมตามความเป็นจริง ปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรม ความเป็นจริงของสรรพสิ่งทั้งหลาย ว่าสิ่งใดไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ต ความเกิดแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ สิ่งนั้นไม่ควรจะถือว่าของเราด้วยตัณหา ไม่ควรจะถือว่าเราด้วยมานะ ไม่ควรจะถือว่าเราด้วยทิฏฐิ เพราะว่าเราตัวตนไม่มีจริง ปัญญาที่รู้เห็นแจ้งชัดอย่างนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่กำหนัดยินดีในธรรมที่เป็นทุกข์ แล้วปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งหลาย ดับทุกข์ให้สิ้นไป อริยมีองค์ 8 เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 39). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสเถระ. (2551). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2538). ปรมัตถโชติกะ ปฏิจจสมุปบาททีปนี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.