วิธีการกำหนดรู้อาเนญชาภิสังขารในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอาเนญชาภิสังขารในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิธีการกำหนดรู้อาเนญชาภิสังขารในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุง แก้ไข สรุปผลการวิจัยในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า
1) อาเนญชาภิสังขาร เป็นสภาวะจิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่อนิวรณ์กิเลสทั้งหลาย อันเป็นเหตุปัจจัยแห่งอรูปาวจรซึ่งต้องอาศัยการเจริญสมถกรรมฐานคือ กสิณกรรมฐาน อานาปานสติ และอรูปกรรมฐาน อรูปฌาน 4 นี้ เป็นเหตุปัจจัยแห่งคุณวิเศษมี อภิญญา 5 เป็นต้น และ เป็นบาทฐานแก่การเจริญวิปัสสนาปัญญาทำให้รู้แจ้งอย่างรวดเร็ว ถ้ายังไม่ได้บรรลุมรรค ผล นิพพานในปัจจุบันได้ก็จะไปเกิดในพรหมโลก
2) วิธีการกำหนดรู้อาเนญชาภิสังขารในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาคือ เมื่อเจริญกรรมฐานคือ กสิณ อานาปานสติ จนได้บรรลุอรูปฌาน 4 ซึ่งข่มกิเลสไว้แต่กิเลสยังไม่ได้ถูกทำลาย อรูปฌานเป็นมหัคคตจิตที่มีความละเอียดประณีตมาก่จนทำให้เพลิดเพลินหลงติดในฌาน แต่เมื่อใดนำเอาอรูปฌานมาเป็นบาทฐานของการเจริญวิปัสสนา เรียกว่า วิปัสสนาปุพพังสมถะ คือเจริญสมถะเกิดแล้วเจริญวิปัสสนาทีหลัง แล้วพิจารณารูปนาม คือองค์ฌานจนเห็นแจ้งไตรลักษณ์ จนทำลายกิเลสทั้งหลายได้ ก็จะได้คุณวิเศษคือวิชชา 3 อภิญญา 6 ปฏิสัมภิทาญาณ 4 ถ้าบรรลุเป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ก็สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.
พระบวรปริยัติวิธาน. (2553). แสงสว่างทางปฏิบัติ เล่ม 5. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระพุทธโฆสเถระ. (2560). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสภมหาเถร) แปล. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
พระภาวนาพิศาลเมธี วิ.(ประเสริฐ มนฺตเสวี). (2564). ลำดับการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 แนวธัมมานุสารี วิธีปฏิบัติวิปัสสนา 7 ขั้น เพื่อบรรลุธรรมในชาตินี้. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.
พระสัทธัมมโชติกะ. (2560). ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 9 เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์ พริ้นท์.
พระอำพัน นิลใน และ ธานี สุวรรณประทีป. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาในวิตถตธนสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 538-545.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี. (2557). คู่มือการศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 9 กัมมัฏฐานสังคหวิภาค. (พิมพ์ครั้งที่ 7).นครปฐม : มูลนิธิแนบมหานีรานนท์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ.ปยุตฺโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 35).กรุงเทพฯ: สหธรรมิก จำกัด.
Damnoen, P. S., Chaiworamankul, Y., Thammawatsiri, P. A., & Soontrondhammanitus, P. (2021). Buddhist Ethics and the way of Living in Daily Life: An Analysis of Genital Malfeasances (Kamesumicchacara). Turkish Journal of Computer and Mathematics Education, 12(8), 2943-2948.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.