วิเคราะห์อริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอริยมรรคมีองค์ 8 ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์อริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุปวิเคราะห์เรียบเรียง และบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์อริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เป็นวิธีการปฏิบัติที่ทำตามแล้ว สามารถกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ คือ 1) อริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือ โยคีบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้กาย เวทนา จิต และธรรมตามความเป็นจริงไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ที่มากระทบ 2) อริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักอริยสัจ 4 คือ โยคีบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้ทุกข์ คือ สภาวะที่ทนได้ยาก กำหนดรู้สมุทัย คือ สาเหตุที่ให้ทุกข์เกิดขึ้น กำหนดรู้นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และกำหนดรู้มรรค คือ หนทางเพื่อความดับทุกข์กล่าวคือ อริยมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง 3) อริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักไตรสิกขา คือ โยคีบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้ศีลกล่าวคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ โยคีบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้สมาธิกล่าวคือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ และ โยคีบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้ปัญญากล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นหนทางในการดับทุกข์ทั้งปวง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.
พระทัศพร ทองอยู่. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในทุกขสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 528-537.
พระภัทรชัยญกรณ์ อูดสวย. (2564). การบริหารการศึกษาตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 83-92.
พระมหากิตติณัฏฐ์ สุกิตฺติเมธี. (2564). การวิเคราะห์แนวทางงดเว้นจากความเสื่อมในปราภวสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 84-95.
พระโมคคัลลานเถระ. (2557). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. แปลโดย พระมหาสมปอง มุทิโต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2548). วิปัสสนานัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ซีเอไอ เซ็นเตอร์.
พระอำพัน นิลใน, ธานี สุวรรณประทีป. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาในวิตถตธนสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 538-545.
พระอุปติสสเถระ. (2541). วิมุตติมรรค. แปลโดย พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศยาม.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.