การเจริญกัมมัฏฐานแบบสมถปุพพังคมนัย

Main Article Content

พระธวัชชัย สกลวิภาส
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมถปุพพังคมนัยในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการเจริญกัมมัฏฐานแบบสมถปุพพังคมนัย เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุปวิเคราะห์เรียบเรียง และบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ศึกษาการเจริญกัมมัฏฐานแบบสมถปุพพังคมนัย คือ การเจริญวิปัสสนาโดยเจริญสมถะนำหน้า เริ่มต้นด้วยการใช้ฌานทำให้เกิดขึ้นเป็นบาทฐานแล้วจึงยกจิตขึ้นสู่การปฏิบัติวิปัสสนา ด้วยการพิจารณารูปนามตามความเป็นจริง และอานิสงส์ของการเจริญกัมมัฏฐานแบบสมถปุพพังคมนัย คือ 1) อานิสงส์ที่เกิดจากการเจริญฌานสมาบัติ 2) ความปรากฏขึ้นของวิปัสสนาญาณ 9 และ 3) ความปรากฏขึ้นของมรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละชั้น เข้าสู่ความเป็นมรรค ผล และนิพพาน ตามลำดับ ส่วนการบรรลุตามวิถีแห่งสมถปุพพังคมนัย ได้แก่ 1) อุภโตภาควิมุตติ คือ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ 8 แล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป 2) กายสักขี คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย และอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา 3) ธัมมานุสารี คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีปัญญาเป็นตัวนำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระกัมมัฏฐานาจริยะ พระปัณฑิตาภิวงศ์. (2552). รู้แจ้งในชาตินี้. แปลโดย พิชิต ภัทรวิมลพร และ วิธัญญา ภัทรวิมลพร. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระทัศพร ทองอยู่. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในทุกขสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 528-537.

พระพุทธโฆสเถระ. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระภัทรชัยญกรณ์ อูดสวย. (2564). การบริหารการศึกษาตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 83-92.

พระมหากิตติณัฏฐ์ สุกิตฺติเมธี. (2564). การวิเคราะห์แนวทางงดเว้นจากความเสื่อมในปราภวสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 84-95.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2548). วิปัสสนานัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ซีเอไอ เซ็นเตอร์.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 47). กรุงเทพฯ: เพ็ทแอนด์โฮม.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.